การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช โดยใช้ชุดฝึกทักษะ
ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา นางนิรัชรา อินเสก
โรงเรียน บ้านทุ่งรูง วิทยฐานะชำนาญการ อำเภอศีขรภูมิ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช โดยใช้ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ การดำรงชีวิตของพืช ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล( I.E.) ของชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 5)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มี
ตอการเรียนรูด้วยชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งรูง อำเภอศีขรภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 ชุด
มีคุณภาพตั้งแต่ 4.20 – 4.80 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.21 – 0.81 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.77 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ค่าความยาก(p)มีค่าตั้งแต่ 0.25 – 0.63 ค่าอำนาจจำแนก (r) มีค่าตั้งแต่ 0.25 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบค่าสมมุติฐานคือ สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยจาก ผลการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนจำนวน 8 ชุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.95 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.44 ผลการประเมินจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.45 คิดเป็นร้อยละ 84.83 ดังนั้น ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.44 / 84.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7919 ซึ่งหมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 79.19
3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การเปรียบเทียบผลการทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน พบว่า คะแนนวัดผลการทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. การสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด
โดยสรุป จากการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ได้ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนเฉลี่ยสูงขึ้น ดังนั้น ครูผู้สอนสามารถนำวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปปรับใช้ได้ตามความอย่างเหมาะสม