รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรั
บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบ ประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก รายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก รายวิชาชีววิทยา ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนโรงเรียนแวงน้อยศึกษา ก่อนและหลังการเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแวงน้อยศึกษา ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบ ประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก รายวิชาชีววิทยา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนแวงน้อยศึกษา อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จ านวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบ เจาะจง (Purposive Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบประสาท และอวัยวะรับความรู้สึก รายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 6 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก รายวิชาชีววิทยา ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่อง ระบบ ประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะ รับความรู้สึก รายวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ด าเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test (Dependent Samples) ผลการศึกษา พบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก รายวิชาชีววิทยา ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.41/80.06 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณา แยกเป็นรายชุด ปรากฏว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้ง 6 ชุด มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ก าหนด ไว้ทุกชุด 2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก รายวิชา ชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยจาการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะ รับความรู้สึก รายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด (x= 4.65 )