รายงานการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก...
โดยการจัดการเรียนรวม โรงเรียนบ้านทุ่งข่วง
ผู้รายงาน นายปัญญา ใจหาญ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านทุ่งข่วง
ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการ
เรียนรวม โรงเรียนบ้านทุ่งข่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานวิธีดำเนินงานโครงการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนรวม รายงานผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนรวม
ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รายงานความพึงพอใจในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนรวม ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน และรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนรวม ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน
การรายงานครั้งนี้ใช้ประชากรคือ ครูโรงเรียนบ้านทุ่งข่วง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านทุ่งข่วง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านทุ่งข่วง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 21 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 โรงเรียนบ้านทุ่งข่วง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสอบถามความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนรวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที
(t-test) ปรากฏผลดังนี้
1. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนรวม ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนรวม แตกต่างกันตามตำแหน่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่แตกต่างกันตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา
3. ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนรวม โดยภาพรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด
4. ปัญหาที่พบในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนรวม คือ อาคารสถานที่ของโรงเรียนมารวมไม่ได้รับการดูแลและไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ โดยมีข้อเสนอแนะให้สถานศึกษากำหนดนโยบายและแนวทางในการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ของโรงเรียนมารวมให้ชัดเจน และจัดหาคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอและพร้อม
ใช้งาน