รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะก
ผู้วิจัย นางสาวสุภัทรา สิริจามร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ ๒
ปีที่พิมพ์ 2557
[center]บทคัดย่อ[/center]
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พัฒนา ทดลองและ ประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาดินเค็มโรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ ๒ โดยมีผู้ร่วมวิจัยจำนวน 10 คน และกลุ่มนักเรียนที่เข้ารับการพัฒนาจำนวน 30 คน รวม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาดินเค็มโรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ ๒ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ (แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และแบบวัดจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม) และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์และจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาดินเค็มโรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ ๒ รูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “SUPAT Model” ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 สาระหลัก องค์ประกอบที่ 5 ระบบสังคม องค์ประกอบที่ 6 หลักการตอบสนอง องค์ประกอบที่ 7 สิ่งสนับสนุน และองค์ประกอบที่ 8 เงื่อนไขในการนำรูปแบบการสอนไปใช้ และขั้นตอนกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ SUPAT Model มี 5 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) ขั้นเริ่มต้นเตรียมความพร้อมในการเรียน (Start Preparing Step : S) 2) ขั้นเข้าใจความคิดรวบยอด (Understand Concept Step : U) 3) ขั้นทักษะกระบวนการฝึกปฏิบัติ (Process by Practice Step : P) 4) ขั้นการนำไปใช้ (Application Step : A) และ 5) ผลรวมความรู้เพื่อสร้างชิ้นงาน (Total for Constructing Step : T)
ทั้งนี้นอกจากการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาดินเค็มโรงเรียนโนนไทย คุรุอุปถัมภ์ ๒ จังหวัดนครราชสีมาแล้ว ยังได้เอกสารคู่มือประกอบการใช้รูปแบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ดินเค็ม แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบวัดจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม
สำหรับคุณภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาดินเค็มโรงเรียนโนนไทย คุรุอุปถัมภ์ ๒ ด้านความเหมาะสมและเป็นไปได้ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมมีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
2. ผลการศึกษาของประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาดินเค็มโรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ ๒ มีดังนี้
2.1 ภายหลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาดินเค็มโรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ ๒ จังหวัดนครราชสีมา นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 การใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาดินเค็มโรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ ๒ จังหวัดนครราชสีมา ทำให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 ทักษะ อยู่ในระดับสูงทุกด้าน
2.3 การใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาดินเค็มโรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ ๒ จังหวัดนครราชสีมา ทำให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษา ดินเค็มโรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ ๒ จังหวัดนครราชสีมา ทั้งด้านตัวครูผู้สอน ด้านกิจกรรมการเรียน การสอน ด้านวัดและประเมินผลและด้านประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด