บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง: รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ปีที่ศึกษา: ๒๕๕๙
ผู้ศึกษา: นาวสาวชมพูนุช เผือกผล
รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) สร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ และ ๓) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๕ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนชุมชนศูนย์อพยพแปลง ๔ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๕ จำนวน ๒๘ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากเป็นห้องเรียนที่ผู้รายงานรับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้โดยเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ๑) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๒) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ คือค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test แบบ Dependent
ผลการศึกษาพบว่า:
๑. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ ๘๓.๑๘/๘๒.๓๓ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ ๘๐/๘๐
๒. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๓. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด