รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ
ผู้วิจัย นางสาวปทุมวดี พิมพ์วิชัย
สถานศึกษา โรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานการเรียนและหลังเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 โรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คน ซึ่งเลือกโดยการใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Custer Random Sampling) ด้วยการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ 1) คู่มือการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 14 ชุด รวมเวลา 14 ชั่วโมง 2) เอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ จำนวน 12 เล่ม และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ .20 - .80 มีค่าอำนาจจำแนก รายข้อ (r) ตั้งแต่ .20 - .70 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .73 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมุติฐานใช้ t – test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ( / ) เท่ากับ 81.39/81.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75
2. ดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6667 แสดงว่า นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 66.67
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45 แสดงว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่องสถิติ ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
จากผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียน ให้สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สรุปความคิดรวบยอดจากสิ่งที่พบเห็นและเชื่อมโยงความรู้ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ดังนั้น จึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้ครูนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับชั้นอื่น ๆ หรือในเนื้อหาสาระอื่น ๆ ต่อไป