การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน อ
ผู้วิจัย พงารัตน์ แย้มวงค์
หน่วยงานที่สังกัด โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เนื่องจากนักเรียนในแต่ละห้องมีความสามารถ 3 ระดับ คือ เก่ง ปานกลางและอ่อนเหมือนกันทุกห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) และ4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) การวิเคราะห์ข้อมูล 1) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สถิติร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (E1/E2) 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วย แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya)โดยใช้ Paired -Samples t-test และ 3) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) โดยใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่น (Cronbach’s coefficient of alpha) ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) มีประสิทธิภาพ 81.89/81.03ตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง โดยใช้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวความคิดของโพลยา (Ploya) อยู่ในระดับมาก