รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที
การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้นั้น จาเป็นต้องใช้
สื่อนวัตกรรมตลอดจนเทคนิค และวิธีการสอนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอน
น่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้าใจในเนื้อหาให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น
การศึกษาครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของการศึกษา คือ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
(3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรง
และกฎการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ของ
โรงเรียนศรีบุณยานนท์ อาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จานวน 33 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 3 ชนิด ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง
แรง และกฎการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จานวน
10 เล่ม (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ ซึ่งมี
ความยาก (P) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.77 และมีค่าอานาจจาแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.79 ค่าความ
เชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.92 และ (3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของ
นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
5 ระดับ จานวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test Dependent
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.66/83.74
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7155 แสดงว่าผู้เรียนมีการ
พัฒนาความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.55
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรง และ
กฎการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า
คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 4
พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
โดยสรุปชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเพียงพอที่ครูผู้สอนสามารถนาไปใช้ใน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนพร้อมทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนาเนื้อหา
อื่นและรายวิชาอื่นต่อไป