การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
ผู้รายงาน นายเสกสรรค์ อัตรสาร
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ประเมินวิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยป้อน ด้านกระบวนการ
และด้านผลิตผลของการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน
คำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
โดยการประเมินตามรูปแบบซิปป์ (The CIPP Model)โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท
ด้านปัจจัยป้อน ด้านกระบวนการ และด้านผลิตผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผล มีจำนวน
70 คน ประกอบด้วย ทีมนำ ทีมประสาน ทีมทำและทีมสนับสนุน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ใช้ประเมินทีมนำ ทีมประสาน ทีมทำ ฉบับที่ 2 ใช้ประเมินทีมสนับสนุน แบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.289-0.912
และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.985 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยภาพรวม มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
ทั้ง 4 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยป้อน ด้านผลิตผล และด้านกระบวนการ ตามลำดับ
2. ด้านบริบท ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า
มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้านย่อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ วัตถุประสงค์ของโครงการ ความต้องการและความจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ และความพร้อมและทรัพยากร ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ความคิดเห็นของ ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ อยู่ในระดับมากทั้งสามกลุ่ม
3. ด้านปัจจัยป้อน ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ด้านปัจจัยป้อน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้ง 5 ด้านย่อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา คณะบริหาร ครู บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง ชุมชน และ งบประมาณ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ความคิดเห็นของ ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ อยู่ในระดับมากทั้งสามกลุ่ม
4. ด้านกระบวนการ ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ด้านกระบวนการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้านย่อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การวางแผนการปฏิบัติการ การตรวจสอบและประเมินผล การดำเนินงาน และการปรับปรุงเพื่อพัฒนา ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ความคิดเห็นของ
ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ อยู่ในระดับมากทั้งสามกลุ่ม
5. ด้านผลิตผล ทีมนำ ทีมประสาน ทีมทำ และทีมสนับสนุน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ด้านผลิตผล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้านย่อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การส่งเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตและการปรับตัว การพิทักษ์คุ้มครอง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองและสังคม และการพัฒนาการอย่างรอบด้าน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ความคิดเห็นของ ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ อยู่ในระดับมากทั้งสามกลุ่ม
6. แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตัวแปรด้านกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวมแต่ละด้าน ที่ต้องมาจัดทำแนวทางพัฒนา คือ ด้านกระบวนการและด้านการปรับปรุงเพื่อพัฒนา