รายงานผลการใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดวัฏจักรการเรีย
ชื่อผู้ศึกษา นางสุชามนตร์ จินดาไทย
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1)สร้างชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75(2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร และ (3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนประจวบวิทยาลัย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำนวน 436 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนประจวบวิทยาลัย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำนวน 46 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นเนื้อหารายวิชา คณิตศาสตร์ 5 (ค23101) เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 25 คาบ คาบละ 50 นาที ใช้แบบแผนการศึกษา One Group Pretest - Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t - test)
ผลการศึกษา พบว่า
1.ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร มีประสิทธิภาพ 78.13/77.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนดไว้
2.นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด