LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรี

usericon

การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรี
ชื่องานวิจัย    การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียน
        เทศบาล 1 (บ้านในเมือง) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อผู้วิจัย    นางอุบลรัตน์ เสือน้อยกุลธร
ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
ปีการศึกษา     2555

บทคัดย่อ

    การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จุดมุ่งหมายของการรายงานผลการดำเนินงาน 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพผลการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) 2)เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ผลการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้กลุ่มประชากรมาเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 3 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 15 คน พนักงานครู 53 คน รวม 71 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินงานที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยการจับฉลากจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 685 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 2 ส่วน จำนวน 756 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมี 2 ฉบับ โดยแบบประเมินประสิทธิภาพผลการดำเนินงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ระดับ 0.9101 และ แบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ระดับ 0.8918 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) จากการศึกษาประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) พบว่าประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมโดยรวมและรายแผนงานอยู่ในระดับมาก แผนงานที่ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ แผนงานวิชาการ และแผนงานความสัมพันธ์ชุมชน รองลงมาคือ แผนงานกิจการนักเรียน แผนงานธุรการ การเงิน พัสดุ แผนงานบุคลากร และแผนงานอาคารสถานที่
2. ความพึงพอใจของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) พบว่าความพึงพอใจของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมโดยรวมและรายแผนงานอยู่ในระดับมาก แผนงานที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ แผนงานความสัมพันธ์ชุมชน และรองลงมาคือ แผนงานธุรการ การเงิน พัสดุ แผนงานวิชาการ แผนงานกิจการนักเรียน และความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ แผนงานอาคารสถานที่ และ แผนงานบุคลากร
3. ผลการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากการศึกษาแนวการดำเนินงานพัฒนาระบบบริหารการศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ สรุปได้ว่าปัญหาที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาระบบบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) จากการ สนทนากลุ่มของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดกิจกรรมขาดความต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ผู้ปกครองและชุมชนไม่มีส่วนร่วมเท่าที่ควร ที่ตั้งขอโรงเรียนอยู่ในแหล่งมลพิษทางเสียง งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านการดูแลงานสารสนเทศ ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ

06 ก.ย. 2557 เวลา 19:14 น. 0 946
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^