ผลการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวน
ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้ศึกษา นางสาวปราณี ไชยภักดี ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านเกาะนางคำเหนือ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2556
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย ตามเกณฑ์ 80/80 และ2) เพื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้าทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้าน-เกาะนางคำเหนือ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านเกาะนางคำเหนือ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ หน่วยการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 24 แผน แผนละ 20 นาที 2) ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ หน่วยการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว ระดับปฐมวัย จำนวน 8 ชุด และ 3) แบบประเมินพัฒนาการด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 4 ชุด รวม 20 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และร้อยละ หาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ หน่วยการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้สูตร E1 และ E2 ตามเกณฑ์ 80/80
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ หาความรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 91.46/90.25
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 1 ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วย ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 43.50