LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

รายงานการประเมินโครงการนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาด้วยภาคี 4

usericon

ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาด้วยภาคี 4 ฝ่าย
ของโรงเรียนบ้านหินลูกช้าง
ผู้ประเมิน     : จิรัชญา บัวทอง
ปีประเมิน     : 2558
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาด้วยภาคี 4 ฝ่าย ของโรงเรียน บ้านหินลูกช้าง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับ ความต้องการ ความจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความชัดเจนของเป้าหมายของโครงการ (2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ เกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของงบประมาณ และความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการ (3) ประเมินกระบวนการการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับกระบวนการวางแผน การดำเนินการ การนิเทศติดตามและประเมินผลของโครงการ (4) ประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณธรรม 4 ประการ ปริมาณผลผลิตของพืช และสัตว์ที่ผลิตได้ของโครงการและประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาด้วยภาคี 4 ฝ่าย ของโรงเรียนบ้านหินลูกช้าง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 64 คน ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 27 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครู จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 27 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ และแบบบันทึก จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
    ผลการประเมิน โดยภาพรวมพบว่า ตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด คือ
    1. ผลการประเมินบริบท พบว่า การดำเนินการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.29 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ทุกตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์ การประเมิน เรียงลำดับจากมาก (ไปหาน้อย ได้แก่ ความชัดเจนของเป้าหมาย ความจำเป็น ความต้องการ และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์
    2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า พบว่า การดำเนินการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือความเหมาะสมของกิจกรรม ลำดับรองลงมาคือ ความพร้อมของสถานศึกษา และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความเหมาะสมของงบประมาณ
    3. ผลการประเมินกระบวนการ พบว่า การดำเนินการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
( = 4.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ และการนิเทศติดตามและประเมินผล
    4. ผลการประเมินผลผลิต พบว่า การดำเนินการได้ผลอยู่ในระดับมาก ( = 4.30) เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งผลการประเมินตัวชี้วัดย่อยสรุปได้ดังนี้
     4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
     4.2 คุณธรรม 4 ประการ พบว่า ได้ผลผลิต ผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ 86.54
     4.3 ผลผลิตจากผักสวนครัว พบว่า ได้ผลผลิต ผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ 91.50และ ผลผลิตจากปลาดุก พบว่า ได้ผลผลิต ผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ 99.00
     4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
( = 4.17) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
     4.5 ความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าโดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.46) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
     4.6 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน พบว่าโดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.26) และผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ
    
    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้        
    จากผลการประเมินโครงการ ที่พบว่า โครงการผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด โรงเรียนบ้านหินลูกช้าง ควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป และเพื่อให้การดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรนำผลการประเมินบางประเด็นและบางตัวชี้วัดไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
1.    ประเด็นบริบทของโครงการ
    จากผลการประเมินที่พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีผลการประเมินตัวชี้วัดความเหมาะสมของวัตถุประสงค์มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด จึงควรกำหนดวัตถุประสงค์ที่เป็นรูปธรรมให้มากที่สุด และเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
2.    ประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ
จากผลการประเมินพบว่า ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ในระดับตัวชี้วัดพบว่าตัวชี้วัดความเหมาะสมของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด จึงควรจัดให้มีการระดมทรัพยากรจากชุมชนให้มากที่สุด ไม่ว่าเป็นทุนแรงงาน ทุนทรัพย์ สิ่งของ ต่าง ๆ หรือความร่วมมือที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ความรู้ความสามารถของภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น

3.    ประเด็นกระบวนการของโครงการ
     จากผลการประเมินพบว่า ผลการประเมินกระบวนการ พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ และการนิเทศติดตามและประเมินผล จึงควรจัดการนิเทศติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ ศึกษาหารูปแบบการนิเทศให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการทำงานขององค์กร

    ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
    1. ควรประเมินโครงการนี้ในทุกปี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สอดคล้องกับสภาพกาลเวลา ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เป็นแนวทางแก่โครงการอื่น ๆ ต่อไป
    2. ควรประเมินเกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อโครงการ เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรมผลกระทบที่ตามมา
    3. ควรศึกษาตัวชี้วัดอื่นๆ ที่มีอิทธิพลกับตัวชี้วัดที่มีอยู่ เพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น







ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^