รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา : นายวีระชาติ ภาษีชา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนวัดม่วง สำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ปีที่ทำการศึกษา : 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจรรมเสริมทักษะ เรื่อง อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) เพื่อศึกษาความถึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนวัดม่วง สำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก การทดลองใช้เวลา 20 ชั่วโมง โดยทำการทดลองสัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 2 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 4 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีประสิทธิภาพ โดยรวม เท่ากับ 91.69/85.16
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 10.10 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 25.13 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้า เท่ากับ 15.03 ร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 50.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ซึ่งเป็นที่น่าพึงพอใจ เมื่อเปรียบเทียบผลต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t–test พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 ชุด ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้น ปรากฏว่า ความพึงพอใจของนักเรียนเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, = .56 )