ชุดกิจกรรมการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอุดมวิทยายน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 5 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พลังงานกล และ ไฟฟ้า จำนวน 9 แผน รวม 18 ชั่วโมง 2)ชุดกิจกรรมการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงาน ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ ซึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.33 – 1 ความยากง่าย 0.20 - 0.80 อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.67 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.91 4) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง พลังงาน ที่สร้างขึ้น ซึ่งเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ จำนวน 21 ข้อ มีดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t-test
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 82.41/80.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01
3.ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด