รายงานผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมโดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งการละเล่น
การศึกษาผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม ระหว่างการกิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย สำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำแนกเป็นรายด้านและภาพรวม และเพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม ของนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย ทั้งรายพฤติกรรมและภาพรวม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 16 คน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 4 รายการ คือ การเล่นร่วมกับเพื่อน การปฏิบัติตามกติกา/ข้อตกลง การยอมรับความสามารถของคนอื่น และ การรอคอยตามลำดับก่อนหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย เพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม จำนวน 27 กิจกรรมแผนการจัดกิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย เพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม จำนวน 27 แผน แบบสังเกตพฤติกรรมการพัฒนาทางสังคมจำนวน 4 ชุด เก็บรวบรวมข้อมูลก่อน-หลัง การจัดประสบการณ์ โดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย ด้วยแบบสังเกตพฤติกรรมการพัฒนาทางสังคมและรวบรวมข้อมูลระหว่างการจัดกิจกรรมด้วยแบบสังเกตพฤติกรรมและประเมินผลตามแผน การจัดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการจัดกิจกรรมด้วยค่าสถิติเฉลี่ย (µ)และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน( σ) วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบพฤติกรรมจากข้อมูล ก่อน-หลังด้วยสถิติร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์ โดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย ช่วง 9 สัปดาห์ จากการวัดและประเมินผลทุกแผน 27 แผน แล้วเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล 9 ช่วงสัปดาห์ ผลปรากฏว่า พฤติกรรมทางสังคม รายพฤติกรรมทั้ง 4 รายการ คือ การเล่นร่วมกับเพื่อน การปฏิบัติตามกติกา/ข้อตกลง การยอมรับความสามารถของคนอื่น และการรอคอยตามลำดับก่อนหลัง และในภาพรวม เริ่มสัปดาห์แรก ผลการวัดและประเมินเฉลี่ย (µ)อยู่ที่ระดับพอใช้ (1.94, 1.85, 1.88, 1.83 และ 1.88 ตามลำดับ) เมื่อจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย จนถึงสัปดาห์ที่ 9 ผล การวัดและประเมินของนักเรียนมีค่าเฉลี่ย (µ) อยู่ที่ระดับดี (2.92, 2.90, 2.90, 2.94 และ 2.92 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาพฤติกรรมแต่ละด้านและภาพรวม ปรากฏว่า มีการพัฒนาดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์ และผลรวมโดยเฉลี่ย (µ)ของแต่ละพฤติกรรมและภาพรวมอยู่ในระดับดีทุกด้าน (2.41, 2.42, 2.41, 2.40 และ 2.41 ตามลำดับ) แสดงว่า การผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม โดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีพัฒนาการดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์
2. ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ โดยใช้ กิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ทำการสังเกตพฤติกรรมโดย แบบสังเกตพฤติกรรมการพัฒนาทางสังคม พบว่า หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย นักเรียนมีคะแนนรายพฤติกรรม ทั้ง 4 รายการ คือ การเล่นร่วมกับเพื่อน การปฏิบัติตามกติกา/ข้อตกลง การยอมรับความสามารถของคนอื่น และการรอคอยตามลำดับก่อนหลัง และภาพรวม (2.94, 2.88, 2.81, 2.94 และ 2.89 ตามลำดับ) สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย(1.63, 1.69, 1.75, 1.81 และ1.72 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาถึงผลต่างของคะแนนทั้ง 2 ส่วน ผลปรากฏว่า มีความแตกต่างกันทั้งรายพฤติกรรมและภาพรวม ดังนี้ การเล่นร่วมกับเพื่อน มีความแตกต่างกัน 1.31 คิดเป็นร้อยละ 43.67 การปฏิบัติตามกติกา/ข้อตกลง มีความแตกต่างกัน 1.19 คิดเป็นร้อยละ 39.67 การยอมรับความสามารถของคนอื่น มีความแตกต่างกัน 1.06 คิดเป็นร้อยละ 35.33 การรอคอยตามลำดับก่อนหลัง มีความแตกต่างกัน 1.13 คิดเป็นร้อยละ 37.67 และในภาพรวม มีความแตกต่างกัน 1.17 คิดเป็นร้อยละ 39.08 แสดงว่า
การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ โดยใช้ กิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย ซึ่งเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้ กิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย ซึ่งเปรียบเทียบทุกพฤติกรรมและภาพรวม
กิตติกรรมประกาศ
รายงานผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมโดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งการละเล่นเด็กไทย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สำเร็จลุล่วงด้วยดีด้วยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้อง ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณ นายอุทัย ใจคำปัน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยไผ่ ที่กรุณาให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการทำผลงานทางวิชาการเป็นอย่างดี และขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ นายสมาน ศิริ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 นางสาวสักการะ ทนันชัย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ (สาขา ปฐมวัย) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 นางสาวจันจิรา อุดมา ครูชำนาญการพิเศษ (สาขา ปฐมวัย)โรงเรียนบ้านสันป่าเxxxยว อำเภอแม่อาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 นางศิรินภา พลอยสำลี ครูชำนาญการพิเศษ (สาขา ปฐมวัย)โรงเรียนบ้านป่างิ้ว อำเภอไชยปราการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 และนางมยุเรศ ชัยชนะ ครูชำนาญการพิเศษ (สาขา ปฐมวัย) โรงเรียนบ้านแม่สาว อำเภอแม่อาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3ที่ให้ความอนุเคราะห์ตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ตลอดจนให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในด้านการใช้ภาษา และสถิติวิจัย
ขอขอบคุณคณะครูโรงเรียนบ้านบ้านห้วยไผ่ ที่ให้กำลังใจในการศึกษาวิจัยด้วยดีตลอดมา ขอบคุณเจ้าของเอกสารและงานวิจัยทุกท่าน ที่ผู้ศึกษาได้นำมาใช้อ้างอิงในการทำการศึกษาครั้งนี้
ประโยชน์ที่พึงมีของรายงานนี้ ขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา มารดา ครูอาจารย์ ตลอดจนครอบครัว ที่ให้กำลังใจสนับสนุนและส่งเสริมความก้าวหน้าทางการศึกษาด้วยดีเสมอมา
นางชัชฎาภรณ์ สีทา