การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยโดยผสมผสานแนวคิด ก
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
ผู้วิจัย นางภรภัทร ชาญหิรัญกุล
ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์
อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยโดยผสมผสานแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียน
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จำนวน
2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 46 คน ผู้วิจัยทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เพื่อจัดเป็นกลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group) กลุ่มละ 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยโดยผสมผสานแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 ชุด และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียน จำนวน 30 ข้อ ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาในการทดลอง 18 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ใช้เวลาในการทดลองสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลาทั้งหมด 6 สัปดาห์ ผู้วิจัยใช้แบบแผนการวิจัย แบบ Pretest-Posttest Control Group Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้สำหรับทดสอบสมมุติฐาน คือ t-test (Dependent)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยโดยผสมผสานแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 81.26/81.92 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ความสามารถในการอ่านและการเขียนของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้
ชุดฝึกทักษะหลังการทดลองกับก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความสามารถในการอ่านและการเขียนของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดฝึกทักษะกับกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05