รายงานการประเมินโครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจ
ผู้ประเมิน : นายสุวิทย์ ดาวังปา
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านพรุจูด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2559
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจูด ปีการศึกษา 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการ ซึ่งประกอบด้วยคุณภาพของการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อโครงการ
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 35 คน ประชากรครู จำนวน 8 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 35 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
เครื่องมือสำหรับใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ และได้ค่าความเชื่ออยู่ระหว่าง 0.83–0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจูด ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู ในประเด็นความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยรวม (¯X=4.79 S.D.=0.41) อยู่ในระดับมากที่สุด และครู มีค่าเฉลี่ยรวม (¯X=4.79 S.D.=0.41) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน โดยรวมทั้งสองกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (μ, ¯X=4.79) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจูด ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู ในประเด็นความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ การบริหารจัดการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวม (μ=4.69 σ=0.47) อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจูด ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในประเด็นการวางแผนการดำเนินงาน การดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการ การติดตามและประเมินผล และการนำผลมาปรับปรุง ระหว่างดำเนินการ พบว่า นักเรียน มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด (¯X=4.69 S.D.=0.50) อยู่ในระดับมากที่สุด ครู มีค่าเฉลี่ยรวมรองลงมา (μ=4.61 σ=0.57) อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยรวม (¯X=4.56 S.D.=0.57) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรวมทั้งสามกลุ่ม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ, ¯X=4.62) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจูด ปีการศึกษา 2559 ประกอบด้วย
4.1 ผลการประเมินคุณภาพของการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจูด ปีการศึกษา 2559 พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด (μ=4.54 σ=0.64) อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียน มีค่าเฉลี่ยรวม (¯X=4.50 S.D.=0.52) อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยรวม (¯X=4.50 S.D.=0.50) อยู่ในระดับมาก โดยรวมทั้งสามกลุ่ม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ, ¯X=4.51) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ตามโครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจูด ปีการศึกษา 2559 พบว่า นักเรียน มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด (¯X=4.66 S.D.=0.48) อยู่ในระดับมากที่สุด ครู มีค่าเฉลี่ยรวม (μ=4.50 σ=0.60) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรวมทั้งสองกลุ่ม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ, ¯X=4.54) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ตามโครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจูด ปีการศึกษา 2559 พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด (μ=4.55 σ=0.59) อยู่ในระดับมากที่สุดนักเรียน มีค่าเฉลี่ยรวม (¯X=4.54 S.D.=0.53) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรวมทั้งสองกลุ่ม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ, ¯X=4.55) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการสอบถามความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อโครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจูด ปีการศึกษา 2559 พบว่า นักเรียน มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด (¯X=4.56 S.D.=0.55) อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยรวม (¯X=4.53 S.D.=0.54) อยู่ในระดับมากที่สุด และครู มีค่าเฉลี่ยรวม (μ=4.48 σ=0.59) อยู่ในระดับมาก โดยรวมทั้งสามกลุ่ม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ, ¯X=4.52) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
ข้อเสนอแนะสำหรับโรงเรียน
การประเมินโครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจูด ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้ ผู้ประเมินมีข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้
การประชาสัมพันธ์โครงการ ควรมีการเผยแพร่ผลการพัฒนาให้ทราบกันอย่างกว้างขวาง
ควรทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ก่อนการประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในนโยบาย โครงสร้าง วัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการอย่างชัดเจน ตลอดจนทำความเข้าใจกิจกรรมของโครงการ
ก่อนเริ่มกิจกรรมใหม่ จะต้องแก้ไขจุดด้อยต่าง ๆ ที่พบอย่างสม่ำเสมอ
โรงเรียนควรจัดกิจกรรมระดมความร่วมมือจากผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อขยายแนวทางปฏิบัติกิจกรรมและผลการดำเนินงานไปสู่ชุมชนมากขึ้น
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
โครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจูด ปีการศึกษา 2559 เป็นโครงการเด่นของโรงเรียน ควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงแบบยั่งยืน
ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางอื่นที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินโครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพรุจูด ปีการศึกษา 2559
ควรศึกษาถึงปัจจัยหรือองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน
ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนและ
โรงเรียน เพื่อให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ