LASTEST NEWS

05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่ 01 ต.ค. 2567ด่วนที่สุด ! กระทรวงศึกษาธิการ ขอเชิญชวนร่วมแต่งกายไว้ทุกข์ 2-4 ต.ค.2567

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

ชื่อเรื่อง    การประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหาญ จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2559
ผู้รายงาน    นางฮาบีบะ หลงสลำ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหาญ
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2559
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
    รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหาญ จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยวิธีการประเมิน 2 ลักษณะ คือ 1) ประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น 2) ประเมินโดยใช้แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
        กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยประชากรครู 5 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน 27 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง 27 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิดจำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .88 - .97 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2559 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหาญ ปีการศึกษา 2559 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for Window Version 22

ผลการประเมินพบว่า
    1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหาญ จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = .10) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, = .26) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหาญ จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20, = .10) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.30, = .27) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้ความเพียงพอของงบประมาณ( = 4.30, = .67) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.00, = .50) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหาญ จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2559ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.09, = .07) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียนและผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เท่ากัน( = 4.08, S.D. = .06) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
    4.1 คุณภาพการขับเคลื่อนการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านหาญ จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = .15) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = .09) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (= 4.21, = .06) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.2 แสดงผลการประเมินความสามารถของนักเรียน ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน ตามความคิดเห็นของ ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและ ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.11, S.D. = .11) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ กลุ่มครู มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.11, = .13) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามลำดับ
        4.3 ผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านหาญ จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2559โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 72.64 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET : Ordinary National Education Testing) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหาญ จังหวัดสตูล พบว่า ปีการศึกษา 2558 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 42.60 ปีการศึกษา 2559 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 43.18 ปีการศึกษา 2559 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าปีการศึกษา 2558 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.50, S.D. = .16) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่ กลุ่มครู ( = 4.30, = .16) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D. = .18) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
            สรุปภาพรวมทั้ง 4 ด้าน ค่าน้ำหนัก 100% ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    1. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรมีการวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2. ควรนำรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่นๆ ของ
โรงเรียน เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการวางแผนแก้ปัญหา หรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน
    3. กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ กำกับ ติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง


    




ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^