รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและการบริโภค
ผู้รายงาน นางสาวศุทธินี สุขอยู่
สังกัดโรงเรียนบ้านไร่ใหหลำ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การดำเนินการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการรายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและการบริโภค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่อง อาหารและการบริโภค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและการบริโภค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและการบริโภค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1การดำรงชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านไร่ใหหลำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (x), ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test) กับกลุ่มตัวอย่าง แบบ Dependent Sample
ผลการศึกษา สรุปได้ว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและการบริโภค กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 81.81/81.48 เป็นไปตามสมมติฐาน ข้อที่ 1
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและการบริโภคกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ 2
3 .ความพึงพอใจหลังเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อาหารและการบริโภคกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัวชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยเฉลี่ยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากขึ้นไป เป็นไปตามสมมติฐาน ข้อที่ 3