เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เรื่อง พืชน่ารู้ สัตว์น่ารัก
สาระการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนบ้านทุ่งแค้ว (คันธวงค์วิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1
ชื่อผู้ศึกษา : นางสาวเขมิกา วังคะออม
ปีที่ศึกษา : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานผลการศึกษาการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชน่ารู้ สัตว์น่ารัก สาระการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านทุ่งแค้ว(คันธวงค์-วิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามเกณฑ์80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชน่ารู้ สัตว์น่ารัก และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชน่ารู้ สัตว์น่ารัก สาระการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการการดำรงชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านทุ่งแค้ว(คันธวงค์วิทยาคาร) กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยหาค่าประสิทธิภาพจากผลการทดสอบ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชน่ารู้ สัตว์น่ารัก สาระการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านทุ่งแค้ว(คันธวงค์วิทยาคาร) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.46/83.81 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านทุ่งแค้ว(คันธวงค์วิทยาคาร) ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชน่ารู้ สัตว์น่ารัก สาระการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชน่ารู้ สัตว์น่ารัก สาระการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ 4.87)