รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน : นายรัชภูมิ มะโนฤทธิ์
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านน้ำปัวพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
ปีที่ศึกษา : 2559
รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนการสอนโดย
ใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้ำปัวพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
(t – test) ผลการศึกษา พบว่า 1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 81.85 / 82.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80 / 80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
( x-bar = 4.25 S.D. = 0.44)