รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการ
จิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2558 – 2559
ผู้รายงาน นายกริชานันท์ ลันดา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2558 – 2559
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2558 – 2559
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ คุณภาพของบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ คุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างในการประเมินประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนปีการศึกษา 2558 จำนวน 231 คน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 230 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2558 จำนวน 65 คน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 64 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 231 คน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 230 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง 0.80 – 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2558 – 2559 ด้านสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า
ปีการศึกษา 2558 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 2.72, S.D. = .85) อยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 2.78, S.D. = .87) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 2.65, S.D. = .85) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 4.61, S.D. = .54) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.51, S.D. = .73) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ครู ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.39, S.D. = .83) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2558 – 2559 ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู พบว่า
ปีการศึกษา 2558 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 2.34, S.D. = .99) อยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 4.44, S.D. = .46) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2558 – 2559 ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า
ปีการศึกษา2558โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (x-bar = 3.40, S.D. = .74) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x-bar = 3.83, S.D. = .92) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ผู้นักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 3.76, S.D. = .84) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ ผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (x-bar = 3.40, S.D. = . 74) โดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 4.58, S.D. = .75) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.63, S.D. = .58) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ นักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.59, S.D. = .76) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ ผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.55, S.D. = .79) โดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2558 – 2559 ด้านผลผลิต ปรากฏผลดังนี้
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2558 – 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า
ปีการศึกษา 2558 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar =3.57, S.D. = .68) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x-bar = 3.60, S.D. = . 67) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ นักเรียน และครูมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน โดยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 3.55, S.D. = .66 และ S.D. = .77) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar =4.57, S.D. = .77) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 3.60, S.D. = . 67) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.56, S.D. = .80) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.51, S.D. = .65) โดยภาพรวมต่ำสุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพของบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน โรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2558 – 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า
ปีการศึกษา 2558 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 3.50, S.D. = .68) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x-bar = 3.51, S.D. = .67) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ผู้ปกครอง ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x-bar = 3.48, S.D. = .80) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (x-bar = 3.48, S.D. = .80) โดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.53, S.D. = 75) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.59, S.D. = .70) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ผู้ปกครอง ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.50, S.D. = .78) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.41, S.D. = .78) โดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2558 – 2559ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองและครู พบว่า
ปีการศึกษา 2558 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 3.55, S.D. = .71) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 3.55, S.D. = .69) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x-bar = 3.52, S.D. = .77) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.50, S.D. = .76) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.51, S.D. = .69) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.50, S.D. = .78) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนรัษฎา ปีการศึกษา 2558 – 2559ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและ คณะกรรมการสถานศึกษาพบว่า
ปีการศึกษา 2558 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x-bar = 3.61, S.D. = .71) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 3.68, S.D. = .74) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x-bar = 3.63, S.D. = .74) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 3.54, S.D. = .66) โดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 4.61, S.D. = .74) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.60, S.D. = .78) โดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือ ครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.55, S.D. = .59) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.52, S.D. = .72) โดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนด รูปแบบและแนวทางในการพัฒนารายงาน การประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.โรงเรียนอื่น ๆ ที่มีขนาดและบริบทหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนรัษฎา ควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู เพราะจะทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3.ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรศึกษารูปแบบการเสริมสร้าง “จิตสาธารณะ” ของนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม
2.ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน