LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

รายงานการใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย

usericon

ชื่อเรื่อง     รายงานการใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด ชั้นอนุบาล ปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยลึก
อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2559
ผู้ศึกษา      นางศิริขวัญ ปูเงิน
ปีที่ดำเนินการวิจัย ปีการศึกษา 2559

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินการจัดประสบการณ์ของนักเรียนและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยลึก จำนวน 33 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 และแบบประเมินการจัดประสบการณ์ มีค่าความยากง่าย (P) ระหว่าง .33 - .78 ค่าจำแนก (B) ระหว่าง .22 – 1.0 และค่าความเชื่อมั่น 0.80 แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย และแบบประเมิน ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานใช้ t-test แบบ Dependent sample
        ผลการวิจัยพบว่า
1.    ประสิทธิภาพของหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย
สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 98.85/87.35
2. การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนประเมินก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์ ของนักเรียน จากหนังสือภาพประกอบคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนหลังการจัดประสบการณ์สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดประสบการณ์

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^