การขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการอ่าน 2560 -2564
พันธกิจ
- ระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการอ่านโดยเน้นในระดับครอบครัวอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
- พัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยให้มีทักษะและนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ทุกรูปแบบ
- จัดหาทรัพยากรสื่อส่งเสริมการอ่านที่มีคุณภาพและหลากหลายเหมาะสมกับทุกช่วงวัย มุ่งเน้นสื่อที่ประชาชนต้องรู้ควรรู้และน่ารู้
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีแหล่งการเรียนรู้ให้ทันสมัยรวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านทุกกลุ่มเป้าหมาย
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
- คนไทยทุกช่วงวัยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 200 นาที ( 3เท่าจากฐานเดิม 66 นาทีต่อวัน
- ประชาชนได้รับบริการสื่อส่งเสริมการอ่านที่มีคุณภาพในชุมชนของตนเองเป็นประจำทุกวัน/ปีละ 2 ล้านคน (สื่อที่ประชาชนต้องรู้ ควรรู้และน่ารู้ )
เชิงคุณภาพ
- มุ่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่านทุกช่วงวัย มีพฤติกรรม “ นั่งที่ไหน อ่านที่นั่น”
- คนพิจิตรทุกช่วงวัย มีทักษะการอ่านและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้อย่างเป็นระบบ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตละอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
เป้าประสงค์
- มุ่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่านทุกช่วงวัยมีพฤติกรรม “ นั่งที่ไหนอ่านที่นั่น”
- ส่งเสริมให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- สร้างสังคมแห่งการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- เสริมสร้างภาคีเครือข่ายการทำงานส่งเสริมการอ่านทุกภาคส่วน
ยุทธศาสตร์
- ระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนส่งเสริมการอ่าน
- สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการอ่าน
- สร้างกลไกในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่าน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 - ระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนส่งเสริมการอ่าน
แผนงาน
- ผนึกกำลังทุกภาคส่วนร่วมรณรงค์สงเสริมการอ่าน
- ส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
- บูรณการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยให้มีความสามารถในการอ่านวิเคราะห์
( กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน )
เครือข่าย
1. ผู้นำ / ผู้ใหญ่บ้าน / กำนัน
2. ที่ว่าการอำเภอ / ส่วนราชการในอำเภอ
3. อบต. / เทศบาล
4. โรงพยาบาล
5. อสม.
6. กองทุนหมู่บ้าน
7. วัด / พระ
8. สถานีขนส่ง
9. กลุ่มอาชีพ
10.ตลาด
11. บึงสีไฟ
12. แหล่งเรียนรู้
กิจกรรม
1. ประชุมวางแผน มอบนโยบาย กศน. อำเภอ
2. ดำเนินการจัดหาโลโก้ “ พิจิตรเมืองนักอ่าน “
3. กศน. อำเภอ ดำเนินการขับเคลื่อนพิจิตรเมืองนักอ่านในแต่ละอำเภอ เพื่อกระจายลงสู่ชุมชน
4. เปิดตัว “โครงการพิจิตรเมืองนักอ่าน” ระดมทุกภาคส่วนขับเคลื่อนส่งเสริมการอ่าน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 - สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการอ่าน
แผนงาน
- พัฒนาแหล่งและรูปแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ในชุมชน
- พัฒนาสื่อและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
- พัฒนาแหล่งและรูปแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ในชุมชน
- พัฒนาสื่อและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เพิ่มช่องทางการเข้าถึงการอ่านในแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัว
- สร้างบรรยากาศและแรงจูงใจด้วยกิจกรรมรณรงค์การอ่าน
- การรณรงค์ 365 วัน ประกวดแข่งขัน จัดเวทีเสวนา ทุกภาคส่วน ทุกระดับ
- จัดสื่อที่หลากหลาย เข้าถึงง่าย
กิจกรรม
1. การประกวดโลโก้ “พิจิตรเมืองนักอ่าน”
2. จัดให้มีมุมหนังสือในหน่วยงานต่างๆ
3. เพิ่มบ้านหนังสือชุมชนและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
4. โครงการห้องสมุดสำหรับชาวตลาด
5. กิจกรรมนั่งที่ไหนอ่านที่นั่น
6. รถโมบายเคลื่อนที่ / กระเช้าเคลื่อนที่ / ห้องสมุดเคลื่อนที่ในชุมชน
7. โครงการบรรณสัญจร
8. ฯลฯ
ผู้ดำเนินการ
1. สำนักงาน กศน. จังหวัดพิจิตร
2. กศน. อำเภอทุกแห่ง
3. กศน. ตำบลทุกแห่ง
4. ห้องสมุดประชาชนทุกแห่ง
5. ภาคีเครือข่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างกลไกในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่าน
แผนงาน
- กำหนดนโยบายระดับจังหวัด
* สร้างกลไกในการบริหารจัดการ
- สร้างกลไกการทำงานในทุกระดับ
* การส่งเสริมกิจกรรมการสร้างนิสัยรักการอ่านโดยเริ่มต้นระดับครอบครัว หมู่บ้าน ชุมชน อำเภอ จังหวัด
- จัดหาทรัพยากรการอ่านให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน
- ประชาสัมพันธ์เพื่อการปลุกกระแสความสำคัญของการอ่านทุกรูปแบบ
กิจกรรม
1. ห้องสมุดประชาชนทุกแห่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
2. กศน. ตำบลจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
3. จัดทำวารสารส่งเสริมการอ่าน / แผ่นพับ / จุลสาร
4. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัย
5. จัดทำตัวสแตนดี้ประชาสัมพันธ์ / ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์
6. ประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์และเพจ facebook
7. ฯลฯ
ผู้ดำเนินการ
1. สำนักงาน กศน. จังหวัดพิจิตร
2. กศน. อำเภอทุกแห่ง
3. กศน. ตำบลทุกแห่ง
4. ห้องสมุดประชาชนทุกแห่ง
5. ภาคีเครือข่าย
กิจกรรมโครงการพิจิตรเมืองนักอ่าน
ผลการดำเนินงานไตรมาส 2
1. จัดประกวดโลโก้พิจิตรเมืองนักอ่าน/นำโลโก้ใช้ในการประชาสัมพันธ์
2. ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่สำหรับ
ชาวตลาด ฯลฯ
3. จัดทำเพจพิจิตรเมืองนักอ่าน เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการประชาสัมพันธ์
แนวทางการดำเนินงานไตรมาส 3-4 ประจำปี งบประมาณ 2560
1. จัดทำMOU กับหน่วยงานต่างๆเพื่อขับเคลื่อนพิจิตรเมืองนักอ่าน
2. จัดหาและจัดตั้งมุมหนังสือน่าอ่านทุกหมู่บ้าน พร้อมติดโลโก้พิจิตรเมืองนักอ่าน
3. จัดหาและแต่งตั้งอาสาสมัครส่งส่งเสริมการอ่าน
4. จัดอบรมอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านหมู่บ้านละ 2 คน
5. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทุกรูปแบบพร้อมรายงานและประชาสัมพันธ์ทางเว็ปไซต์
6. กิจกรรม ฯลฯ