โครงการการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ผู้รายงาน : นางกัลยาณี ลีสุรพงศ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหินลูกช้าง
ปีที่ประเมิน : 2558
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านเขาแก้วอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2558 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ต่อการดำเนินงานโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (Context Input Process Product Evaluation Model : CIPP Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 87 คน แบ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 36 คน ครู จำนวน 8 คน ผู้ปกครอง 36 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถามที่ผู้ประเมิน ได้สร้างขึ้น จำนวน 4 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.85 - 0.94 และแบบบันทึก 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม Excelผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินโครงการการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านเขาแก้ว อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ โดยรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ
2. ผลการประเมินสภาพแวดล้อม พบว่า การดำเนินการมีความเหมาะสมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ทุกตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ ความจำเป็นและความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ
3. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า พบว่า การดำเนินการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ หน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ ลำดับรองลงมา คือ การบริหารจัดการ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความพร้อมของบุคลากร
4. ผลการประเมินกระบวนการ พบว่า การดำเนินการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การนำผลการประเมิน มาปรับปรุงและพัฒนา (A) การติดตาม การประเมินผล (C) การวางแผน (P) และการดำเนินงาน (D)
5. ผลการประเมินผลผลิต พบว่า การดำเนินการได้ผลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการประเมินตัวชี้วัดย่อย สรุปได้ดังนี้
5.1 ผลการประเมินคุณภาพการจัดสภาพแวดล้อม พบว่า การดำเนินการได้ผลอยู่ในระดับมากทุกกลุ่มที่ประเมิน
5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2558 สูงกว่าปีการศึกษา 2557 และผ่านเกณฑ์การประเมิน
5.3 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 สูงกว่าปีการศึกษา 2557 และผ่านเกณฑ์การประเมิน
5.4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2558 สูงกว่าปีการศึกษา 2557 และผ่านเกณฑ์การประเมิน
6. ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านเขาแก้ว คือ ควรดำเนินการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และควรดำเนินกิจกรรมประสานความร่วมมือโดยเฉพาะจากผู้ปกครองและชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาบริหารจัดการการศึกษาฝ่ายอื่นๆ ของโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ประเด็นสภาพแวดล้อมของโครงการ
จากผลการประเมินที่พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยมีผลการประเมินตัวชี้วัดความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด จึงควรกำหนดวัตถุประสงค์ และประชาสัมพันธ์ถึงแนวทางที่โรงเรียนได้วางไว้ที่เป็นรูปธรรมให้มากที่สุด และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
2. ประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ
จากผลการประเมินพบว่า อยู่ในระดับมาก ในระดับตัวชี้วัดพบว่าตัวชี้วัดความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด จึงควรจัดให้มีการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในด้านความรู้ ความสามารถและความรับผิดชอบ หรือการมีส่วนร่วม เป็นต้น
3. ประเด็นกระบวนการของโครงการ
จากผลการประเมินพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่าตัวชี้วัด การดำเนินการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ควรชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรประเมินโครงการนี้ในทุกปี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเป็นแนวทางแก่โครงการอื่น ๆ ต่อไป
2. ควรศึกษาตัวชี้วัดอื่นๆ ที่มีอิทธิพลกับตัวชี้วัดที่มีอยู่ เพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. ควรนำรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียนเพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ เพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการวางแผนแก้ปัญหา หรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน