รายงานการพัฒนาแบบฝึก ชุด สุขหรรษา พัฒนาอ่านเขียนสะกดคำ
ปีที่ ๓ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้รายงาน กรรญา ยิ้มหนองโพธิ์
ตำแหน่ง/สังกัด ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนวัดจระเข้เผือก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๑
ปีการศึกษา ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
การพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบฝึก ชุด สุขหรรษา พัฒนาอ่านเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องการอ่านการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ก่อนและหลังการใช้แบบฝึก ชุด สุขหรรษา พัฒนาอ่านเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความแตกต่างกัน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึก ชุด สุขหรรษา พัฒนาอ่านเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๙ คน โรงเรียน วัดจรเข้เผือก ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึก ชุด สุขหรรษา พัฒนาอ่านเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ผู้รายงานได้สอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นใช้คู่กับแบบฝึก จำนวน ๑๖ ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย แบบฝึก ชุด สุขหรรษา พัฒนาอ่านเขียนสะกดคำ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านเขียนสะกดคำ และแบบวัดความพึงพอใจจากการเรียนด้วยแบบฝึก ชุด สุขหรรษา พัฒนาอ่านเขียนสะกดคำ ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการพัฒนานำมาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการหาค่าที (t-test)
ผลการพัฒนาพบว่า
๑. ประสิทธิภาพของแบบฝึก ชุด สุขหรรษา พัฒนาอ่านเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ๘๔.๙๔ / ๘๕.๙๖ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ๘๐/๘๐
๒. ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการใช้แบบฝึก ชุด สุขหรรษา พัฒนาอ่านเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านเขียนสะกดคำ ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกสูงกว่าก่อนเรียน
๓. ผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก ชุด สุขหรรษา พัฒนาอ่านเขียน สะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึก อยู่ในระดับมาก ทุกข้อคำถาม