การพัฒนาทักษะด้านจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1
ผู้รายงาน นางสาวจุฑาภรณ์ เชื้อเพ็ชร
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ตามเกณฑ์ 80/80 2. เปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะด้านจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ระหว่างก่อนกับหลังการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาล 2/1 ที่มีต่อการการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 2/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนบ้านต้นปรง จำนวน 31 คน ได้มาโดยการเลือกหน่วยตัวอย่างแบบเจาะจง ( purposive sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
1. แผนการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E จำนวน 15 แผน 2. แบบทดสอบวัดพฤติกรรมจิตวิทยาศาสตร์ 3 ด้าน คือ ด้านความสนใจใฝ่รู้ จำนวน 10 ข้อ ด้านความรับผิดชอบ จำนวน 10 ข้อ และด้านความมีเหตุผล จำนวน 10 ข้อ 3. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E จำนวน 5 ข้อ โดยประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังจบหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วย ประกอบด้วย หน่วยมหัศจรรย์จากดิน หน่วยสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าพืช และหน่วยโลกสวยด้วยสีสัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิจัย ดังนี้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีชนิด Dependent Samples t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. สร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.18/89.35 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ผลการพัฒนาพฤติกรรมด้านจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โดยระหว่างก่อนกับหลังการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาล 2/1 ที่มีต่อการการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E อยู่ในระดับมาก