นวัตกรรมกระบวนการจัดการเรียนการสอนนักเรียนพิการเรียนร่วม/เรียนรว
ด้านสื่อ/นวัตกรรมกระบวนการจัดการเรียนการสอนนักเรียนพิการเรียนร่วม/เรียนรวม
โรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
การพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ
1. ผู้พัฒนา Best Practice ได้แก่
1.1.1 นางสาวพฤติลักษณ์ ฉันทานุสิทธิ์ ครูชำนาญการ
1.1.2 นางสาวรักษิตา สบายใจ พี่เลี้ยงเด็กพิการ
โดยมี นายวรรณชัย เหล่าทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง
และนายณัฐพล ทองดีนอก รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง
เป็นผู้ให้กำลังใจ ให้การสนับสนุน และเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำตลอดการดำเนินงานในครั้งนี้
เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ คืออะไร
เทคนิค 3R หมายถึง เทคนิคที่นำมาใช้จัดกิจกรรมหรือสร้างประสบการณ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ ได้แก่
Repettition สอนซ้ำไปซ้ำมาและใช้เวลาสอนมากกว่าเด็กปกติเมื่อมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์แล้วจึงเปลี่ยนจุดประสงค์การเรียนรู้ใหม่
Relaxtion สอนแบบไม่ตึงเครียด เปลี่ยนกิจกรรมจากวิชาการเป็นกิจกรรมนันทนาการ สลับไปมา
Routine กำหนดกิจกรรมให้เป็นกิจวัตรประจำวัน
สื่อ 3 มิติ หมายถึง สื่อการสอนที่ครูสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้แก่
หนังสือ Pop-up สอนอ่านคำ เป็นสื่อ 3 มิติที่เน้นรูปร่างรูปทรง มีลักษณะเป็นหนังสือ
เล่มใหญ่ที่เปิดคำตั้งได้ มีตัวหนังสือชัดเจน มีรูปแบบและสีสันให้น่าสนใจ เพื่อกระตุ้นให้
นักเรียนรักการอ่านมากขึ้น
บอลมหาสนุก เป็นสื่อสอนการประสมคำนำไปสู่การเขียน ผลิตจากลูกบอลที่มีสีสันสวยงาม
จับเคลื่อนย้ายสลับพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ได้ นักเรียนสามารถสร้างคำให้มี
ความหมายได้อย่างสนุกสนาน
ลูกเต๋าหรรษา เป็นสื่อสอนเกี่ยวกับการรู้ค่าจำนวนและตัวเลข การเปรียบเทียบจำนวน การบวกและการลบจำนวน ผลิตจากฟิวเจอร์บอร์ดหลากสีสัน สร้างเป็นรูปทรงลูกบาศก์ นักเรียนจับต้องได้ สามารถเรียนรู้จำนวนผ่านการเล่น ทำให้นักเรียนเข้าใจง่ายและเรียนรู้อย่างมีความสุข
ทักษะการอ่านและการเขียน หมายถึง ความสามารถในการอ่านคำและเขียนคำอย่างง่ายในมาตราตัวสะกดตรงตามมาตราทั้ง 9 มาตรา ได้แก่ มาตราแม่ ก กา แม่กง แม่กม แม่เกย แม่เกอว แม่กก แม่กด แม่กบ แม่กน มาตราละ 10 คำ ด้วยเทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ โดยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75
ทักษะการคิดคำนวณ หมายถึง ความสามารถด้านจำนวนและตัวเลข รู้ค่าและเปรียบเทียบจำนวนได้ บวก ลบเลขไม่เกินสองหลัก(แบบไม่กระจาย)ได้ ด้วยเทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ โดยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมายถึง นักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณ ทั้งที่มีระดับสติปัญญา(IQ) ปกติ แต่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกัน และเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 14 คน
2. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา Best Practice
2.1 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ
2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณโดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ
3. ระยะเวลาในการพัฒนา Best Practice
3 มิถุนายน 2556 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2557 รวมเป็นเวลา 9 เดือน
4. ความเชื่อมโยง / ความสัมพันธ์ระหว่าง Best Practice กับเป้าหมาย/จุดเน้นของสถานศึกษา/สพป./ สพฐ. /
Best Practice ของโรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุงในครั้งนี้ ได้ดำเนินการภายใต้กรอบวิสัยทัศน์
“คนพิการได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเสมอภาค” ซึ่งประกอบด้วย นโยบาย ๔ ข้อ คือ
๑) คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
๒) คนพิการได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเภทความพิการใน
ทุกระบบและรูปแบบการศึกษา
๓) การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
๔) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
จุดเน้นของโรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง
โรงเรียนได้กำหนดจุดเน้นให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่ง Best Practice ที่สร้างขึ้นในครั้งนี้สนองจุดเน้น ทั้ง 3 ด้าน ดังต่อไปนี้
ด้านผู้เรียน
1.นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีสมรรถนะสำคัญและความสามารถด้านวิชาการ ทักษะทางวิชาชีพสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (Student’s Competencies)
2. นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย มีคุณลักษณะและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม (Students’ Characteristics & Social Skills)
3. นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล (Students with Special Needs)
ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาตามวิชาชีพการศึกษาพิเศษอย่างต่อเนื่อง และสามารถจัด การเรียนการสอนนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษอย่างมืออาชีพ (Continuous Professional Development)
ด้านการบริหารจัดการ
โรงเรียนจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามระดับมาตรฐานทุกด้าน (Management with Quality and Standards)
1. โรงเรียนจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในรูปแบบที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล (Management with Special needs and diversity)
5. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนา Best Practice
การพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ ได้ศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎีต่างๆที่สอดคล้องกับการพัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้
แนวคิดและปรัชญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ลักษณะเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
หลักการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT
หลักการวัฏจักรเดมมิง
ทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของ อับราฮัม มาสโลว์
เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในชั้นเรียนรวม
หลักการใช้ 3R
6. กระบวนการพัฒนา Best Practice
6.1 กลุ่มเป้าหมายในการนำ Best Practice ไปใช้
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 - 3 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 14 คน
6.2 ขั้นตอนการพัฒนา Best Practice
แบ่งเป็น 3 ขั้น
ขั้นที่ 1 การสร้างและทดลองใช้เครื่องมือ
ขั้นที่ 2 การนำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
ขั้นที่ 3 การประเมินผลการดำเนินการ
6.3 การตรวจสอบคุณภาพ Best Practice
1. ประเมินนักเรียนโดยใช้ใบงาน/แบบทดสอบ
2. สังเกตพฤติกรรมนักเรียนในการร่วมทำกิจกรรม
3. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน
6.4 แนวทางการนำ Best Practice ไปใช้ประโยชน์
นำสื่อ 3 มิติที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ไปใช้พัฒนาการอ่านและการสะกดคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้
นำสื่อ 3 มิติที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ไปใช้พัฒนาทักษะการเขียนคำ การเขียนประโยคอย่างง่ายได้
นำสื่อ 3 มิติที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ไปใช้พัฒนาการรู้ค่าของจำนวนและตัวเลข เปรียบเทียบจำนวนได้ บวกและลบจำนวนอย่างง่ายได้
นำสื่อ 3 มิติที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ไปใช้สร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้โดยเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมวิชาการมาเป็นนันทนาการ ทำให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้และภูมิใจในความสามารถของตนเอง
เป็นแบบอย่างการพัฒนาสื่อที่ทันสมัย แปลกใหม่และนำไปใช้พัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทาง การเรียนรู้ได้จริงในการพัฒนาการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณของนักเรียนให้ดีขึ้น
7. ผลสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนา Best Practice
7.1 เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติสามารถพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิด
คำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ โดยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75
7.2 นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน
การเขียน และการคิดคำนวณโดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.94
ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ Best Practice
จากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง ครูผู้สอน และนักเรียนมีความพึงพอใจใน
การจัดการศึกษาเรียนรวมของโรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง โดยใช้เทคนิค 3R กับสื่อ 3 มิติพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 100
8. ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนา Best Practice
ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนานักเรียนที่มี ความต้องการจำเป็นพิเศษ และเชื่อมั่นว่า “นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้” และ โรงเรียนควรจัดสื่อหรือนวัตกรรมที่สนองต่อความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียนแต่ละคน รวมทั้งมุ่งเน้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ คนทุกคน (Education for all) ตามปรัชญาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
9. กระบวนการตรวจสอบซ้ำเพื่อพัฒนาปรับปรุง Best Practice ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง
9.1 วิธีการตรวจสอบซ้ำ BP
ดำเนินการตามโครงการในปีการศึกษาต่อไปและปรับปรุงสำหรับข้อบกพร่อง
9.2 ผลการตรวจสอบซ้ำเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP
นำนวัตกรรม Best Practice มาพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในปีการศึกษา 2557 ผลปรากฏว่านักเรียนมีแนวโน้มการพัฒนาที่ดีขึ้น กล่าวคือ นักเรียนสามารถฝึกทักษะได้ด้วยตนเอง และสามารถแนะนำเพื่อนคนอื่นได้ ตลอดจนมีความคงทนในการเรียนรู้
10. การประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของ และการเผยแพร่ BP ขยายผลในวงกว้าง
ประชาสัมพันธ์หน้าเสาธงให้นักเรียนและครูทั้งโรงเรียนชื่นชมกับผลสำเร็จ
ประชาสัมพันธ์ในห้องประชุมโดยแจกแผ่นพับ เช่น ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประชุมผู้ปกครองนักเรียน ประชุมอบรมครูในหน่วยงานใกล้เคียง เป็นต้น
ประชาสัมพันธ์ในเว็บไชต์ทางการศึกษา
ประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook
11. บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบการเรียนรวม(Inclusive schools).
กรุงเทพมหานคร : กลุ่มการจัดการศึกษาเรียนร่วม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). เทคนิค วิธีการและสื่อสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้าน
การอ่าน. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มการจัดการศึกษาเรียนร่วม.