การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ตามแนวการสอนแบบ PISA
โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน นางธินิภัทร ขันศิลา
ตำแหน่ง ตำแหน่ง ครู อันดับ คศ. 2 วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ตามแนวการสอนแบบ PISA โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ตามแนวการสอนแบบ PISA โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ตามแนวการสอนแบบ PISA โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ตามแนวการสอนแบบ PISA โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ตามแนวการสอนแบบ PISA โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 ชุด 2) แผนจัดการเรียนรู้ใช้เวลาแผนละ 2 ชั่วโมง จำนวน 6 แผน 3) แบบทดสอบย่อยหลังเรียนเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 6 ชุด ชุดละ 7 ข้อ รวม 42 ข้อ 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 23 ข้อ แบบเชิงซ้อนจำนวน 1 ข้อ และแบบอัตนัยจำนวน 1 ข้อ รวม 30 คะแนน แบบทดสอบมีค่าความยากระหว่าง .47 - .77 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .33 - .73 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ทั้งฉบับของแบบทดสอบตอนที่ 1 เท่ากับ .941 แบบทดสอบตอนที่ 2 เท่ากับ .894 5) แบบวัดความพึงพอใจที่มีแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ตามแนวการสอนแบบ PISA โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) ชนิด 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ตามแนวการสอนแบบ PISA โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.84/81.24 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.6877 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ตามแนวการสอนแบบ PISA โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43