ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ว31241 วิชาชีววิทยาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สร้างเจตคติที่ดี ต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และฝึกทักษะต่างๆให้กับนักเรียนเพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและทำงานในอนาคต ให้การเรียนรู้เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้ เป็นผลจากความพยายามของผู้สอนที่สร้างและพัฒนาสื่อนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 และหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานแกนกลาง พ.ศ. 2551 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ของ สสวท. โดยมีทั้งหมดจำนวน 8 ชุด ดังนี้
ชุดกิจกรรมที่ 1 สารอนินทรีย์
ชุดกิจกรรมที่ 2 คาร์โบไฮเดรต
ชุดกิจกรรมที่ 3 โปรตีน
ชุดกิจกรรมที่ 4 ลิพิด
ชุดกิจกรรมที่ 5 กรดนิวคลีอิก
ชุดกิจกรรมที่ 6 วิตามิน
ชุดกิจกรรมที่ 7 ปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิต
ชุดกิจกรรมที่ 8 เอนไซม์และการทำงานของเอนไซม์
เอกสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดที่ 5 กรดนิวคลีอิก เล่มนี้ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสาร “ชุดกิจกรรมการเรียนรู้” เล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนและครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างดียิ่ง
ขอขอบคุณ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้คำแนะนำในการปรับปรุงตรวจสอบและแก้ไขจนได้ชุดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มา ณ โอกาสนี้ด้วย
นางสาวมาริษา พานจันทร์
สารบัญ
คำนำ ก
สารบัญ ข
คำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับครู ค
คำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียน จ
ขั้นตอนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฉ
โครงสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 1
แบบทดสอบก่อนเรียน
ใบความรู้ที่ 5.1 กรดนิวคลีอิก 3
5
ใบงานที่ 5.1 เรื่อง กรดนิวคลีอิก 8
ใบกิจกรรมที่ 5.1 เรื่อง โครงสร้างของ DNA
ใบกิจกรรมที่ 5.2 เรื่อง DNA และ RNA 9
11
แบบทดสอบหลังเรียน 12
กระดาษคำตอบก่อน-หลังเรียน 14
ตั๋วออก 15
เฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์
แบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์
แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะ/กระบวนการ
แบบบันทึกประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ 16
17
18
19
20
บรรณานุกรม
ภาคผนวก 21
22
เฉลยใบกิจกรรม 23
สื่อภาพโครงสร้าง DNA
ชุดภาพความแตกต่างของ DNA และ RNA 27
28
เรื่อง หน้า
คำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับครู
1. เอกสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีทั้งหมดจำนวน 8 ชุด
2. เอกสารเล่มนี้เป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดที่ 5 เรื่อง กรดนิวคลีอิก ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม 1 รหัสวิชา ว 31241 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 แผน เวลา 1 ชั่วโมง
3. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดที่ 5 เรื่อง กรดนิวคลีอิก ประกอบด้วย
3.1 คำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับครู
3.2 แผนการสอน
3.2 คำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียน
3.3 ขั้นตอนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
3.4 โครงสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้
3.5 แบบทดสอบก่อนเรียน
3.6 ใบความรู้
3.7 ใบงาน
3.8 ใบกิจกรรม
3.9 แบบทดสอบหลังเรียน
3.10 ตั๋วออก
3.11 เฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
3.12 แบบประเมิน
3.13 เฉลยใบกิจกรรม
3.14 สื่อที่ใช้ประกอบชุดกิจกรรม
ขั้นตอนการใช้ชุดกิจกรรมสำหรับครู
ครูควรมีการเตรียมให้พร้อมที่จะดำเนินการ ดังนี้
1. ศึกษารายละเอียดในคู่มือการใช้ชุดกิจกรรมเล่มนี้ เพื่อให้เข้าใจชัดเจน
2. เตรียมสื่อการเรียนรู้ ที่ใช้ประกอบการจัดกิจกรรม ให้ครบถ้วนตามชุดกิจกรรม แบบทดสอบก่อนเรียน ใบความรู้ ใบกิจกรรม และใบงาน
1. อธิบาย ชี้แจงวิธีการปฏิบัติชุดกิจกรรม ให้นักเรียนเข้าใจตรงกัน ชัดเจน จึงจะทำให้การจัดการเรียนรู้บรรลุเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ
2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ครบตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้กิจกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามวัตถุประสงค์
3. กระตุ้นให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม
4. ขณะนักเรียนทำกิจกรรมครูมีหน้าที่ให้คำแนะนำ และเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นย้ำให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจ ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบและร่วมมือกัน ทำงานภายในกลุ่ม จึงจะทำให้การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. หากนักเรียนบางคนเรียนไม่ทัน ครูควรให้คำแนะนำหรือมอบหมายให้ศึกษาเพิ่มเติมในเวลาว่างหรือในคาบเสริม
หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสร็จสิ้นลงในแต่ละกิจกรรม ครูเป็นผู้ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน
1. ตรวจให้คะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน ใบกิจกรรม ตั๋วออก
2. ประเมินผลแบบประเมินกิจกรรม จากพฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมการปฏิบัติ กิจกรรมกลุ่ม
3. บันทึกคะแนน บันทึกหลังการสอน
4. แจ้งผลให้นักเรียนทราบในชั่วโมงถัดไป
คำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียน
เอกสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีทั้งหมดจำนวน 8 ชุด
เอกสารเล่มนี้เป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 5 กรดนิวคลีอิก ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ให้นักเรียนปฏิบัติดังนี้
1. นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มๆ ละ 5-6 คน คละเพศและคละความสามารถ แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ
2. นักเรียนรับชุดการเรียนรู้และอุปกรณ์สำหรับทำกิจกรรมจากครู
3. นักเรียนศึกษาคำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนให้เข้าใจอย่างละเอียดและปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้
4. นักเรียนศึกษาโครงสร้างชุดกิจกรรม
5. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ ลงในกระดาษคำตอบ เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐาน
6. นักเรียนศึกษาใบความรู้ ทำกิจกรรม และทำแบบฝึกกิจกรรมตามลำดับ
7. ตรวจแบบทดสอบด้วยตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน และเขียนคะแนนไว้ในช่องคะแนนให้ถูกต้อง
เปรียบเทียบความก้าวหน้าของตนเอง
8. นักเรียนต้องทำแบบทดสอบหลังเรียนให้ได้ร้อยละ 80 ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์ ถ้านักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด ให้ทบทวนเนื้อหาแล้วทำแบบทดสอบหลังเรียนอีกครั้ง หากผ่านเกณฑ์ให้ศึกษา ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 6 ต่อไป
9. นักเรียนทำแบบประเมินและตรวจให้คะแนนใบกิจกรรมของตนเอง
10. ก่อนออกจากห้องเรียนให้นักเรียนทำตั๋วออกเพื่อตรวจสอบแนวคิดและความเข้าใจของตนเอง
11. หากมีข้อสงสัยให้ขอคำอธิบาย หรือถามครูผู้สอนเพื่อร่วมกันอภิปรายและสรุปข้อสงสัยนั้น ๆ
ส่งเอกสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ครูผู้สอน เพื่อตรวจคำตอบอีกครั้ง และบันทึกคะแนนเก็บระหว่างเรียน
ข้อควรปฏิบัติควบคู่ไปกับการเรียนรู้
1. นักเรียนควรบันทึกผลการทดลอง และทำแบบฝึกกิจกรรมด้วยตนเอง หากไม่เข้าใจ สามารถปรึกษากับเพื่อนในกลุ่ม ขอคำอธิบายหรือถามครูผู้สอน เพื่อร่วมกันสรุปข้อสงสัยนั้นๆ
2. นักเรียนไม่ควรดูเฉลยก่อน ซึ่งจะทำให้นักเรียนไม่พัฒนาการเรียนรู้
อ่านคำแนะนำและศึกษาโครงสร้าง
ทดสอบก่อนเรียน
เรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
จากชุดกิจกรรมการเรียนรู้
ใบกิจกรรม ใบความรู้
นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
ประเมินผลการเรียนรู้
ผ่านเกณฑ์ ไม่ผ่านเกณฑ์
ศึกษาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป
1. มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐานที่ ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบ
ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่
เรียนรู้และนำไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
2. ผลการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล อธิบายและวิเคราะห์องค์ประกอบของกรดนิวคลีอิกและระบุชนิดของกรดนิวคลีอิก
2. สาระสำคัญ
กรดนิวคลีอิกเป็นสารอินทรีย์ที่ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรม มี 2 ชนิด คือ DNA และ RNA ซึ่งมีหน่วยย่อยประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ ที่มีน้ำตาล ไนโตรจีนัสเบส และหมู่ฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบ
3. วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1) ด้านความรู้
- อธิบายองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก
- ระบุชนิดของกรดนิวคลีอิกได้
- บอกความแตกต่างของกรดนิวคลีอิกได้
2) ด้านทักษะกระบวนการ
- สืบค้นข้อมูล จัดกระทำข้อมูลพร้อมนำเสนอโครงสร้างกระดาษของ DNA ได้
3) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- มีความสนใจ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- มีเหตุผล ซื่อสัตย์ และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม
- มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
4) ทักษะในศตวรรษที่ 21
- นำเสนอข้อมูลโดยการเขียนและการพูด
- มีทักษะการทำงานร่วมกัน
- มีทักษะการคิดวิเคราะห์
ผังมโนทัศน์
ชุดกิจกรรมที่ 5 กรดนิวคลีอิก
แบบทดสอบก่อนเรียน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 5 กรดนิวคลีอิก
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวและทำเครื่องหมาย X ลงในกระดาษคำตอบ
1. ภาพโครงสร้างส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอ (DNA)
สัญลักษณ์ และ คืออะไร ตามลำดับ
ก. น้ำตาล และ เบส
ข. ฟอสเฟต และ เบส
ค. น้ำตาล และ ฟอสเฟต
ง. ฟอสเฟต และ นิวคลีโอไทด์
2. DNA ของสิ่งมีชีวิตหนึ่งมีเบสอยู่ 9 ตัว ตัวเลือกใดเป็น DNA นี้
ก. ACCGCAUGA
ข. AUCCCACAC
ค. ATATCCAGC
ง. UCCGAGTTA
3. RNA มีส่วนประกอบใดที่สำคัญ
a. ไนโตรจีนัสเบส b. หมู่ฟอสเฟส c. ดีออกซีไรโบส
ก. เฉพาะข้อ a
ข. a และ b
ค. b และ c
ง. a b และ c
4. กำหนดให้ B= เบส P= ฟอสเฟต S = น้ำตาล
นิวคลีโอไทด์ในข้อใดแสดงการจับตัวได้ถูกต้อง
ก. B-S-P = P-S-B
ข. P-S-B = B-S-P
ค. S-B-P = P-B-S
ง. P-B-S = S-P-B
5. จากการศึกษาโครงสร้างของ DNA และ RNA พบว่าเหมือนกันอย่างไร
ก. แหล่งที่พบเหมือนกัน
ข. มีน้ำตาล 5C เหมือนกัน
ค. มีเบส 4 ชนิดเหมือนกัน
ง. ประกอบด้วยหมู่ฟอสเฟตเหมือนกัน
6. ข้อใดไม่ใช่โครงสร้างของ DNA
ก. มีน้ำตาลชนิด C5H10O4
ข. มีหน่วยที่เล็กที่สุดคือ มอนอนิวคลีโอไทด์
ค. ลักษณะของโมเลกุลนิวคลีโอไทด์เป็นสายเดี่ยว
ง. อัตราส่วนของเบส A : T และ G : C ในโมเลกุลจะเป็น 1 : 1 เสมอ
7. ข้อใดที่แสดงxxxส่วนของ DNA ได้ถูกต้อง
ข้อ ไทมีน กวานีน อะดีนีน ไซโทซีน
ก 27 23 28 22
ข 27 28 22 23
ค 22 23 27 28
ง 23 27 28 22
8. ลำดับเบสของ DNA สายหนึ่งเรียงลำดับเป็น A C G T A C G T อีกสายหนึ่งจะมีเบสเรียงกันอย่างไร
ก. T A C G T A C G
ข. A C G T A C G T
ค. T G C A T G C A
ง. U G C A U G C A
9. ในการทำลายดีเอ็นเอ (denature) โดยใช้ความร้อน ข้อใดต้องใช้ความร้อนมากที่สุด
ก. ดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยไทมีน 30%
ข. ดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยกวานีน 25%
ค. ดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยอะดีนีน 35%
ง. ดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยไซโทซีน 30%
10. จากรูปเป็นโครงสร้างของดีเอ็นเอ ไนโตรเจนเบส หมายเลข 1 คืออะไร และ เบสที่จับกับไนโตรเจนเบส หมายเลขที่ 3 คืออะไร
ก. กวานีน ไทมีน
ข. อะดีนีน กวานีน
ค. ไซโทซีน อะดีนีน
ง. อะดีนีน ไซโทซีน
***************************************************************************************************
กรดนิวคลีอิก (nucleic acid) เป็นสารชีวโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลทาง
พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปให้แสดงลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต กรดนิวคลีอิกมี 2 ชนิดคือ DNA (deoxyribonucleic acid) และ RNA (ribonucleic acid)
โมเลกุลของกรดนิวคลีอิก ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ดังภาพที่ 1 ก. โมเลกุลของนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยส่วนย่อย 3 ส่วน ได้แก่ หมู่ฟอสเฟต น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม และเบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ นิวคลีโอไทด์มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด แตกต่างกันตามส่วนประกอบที่เป็นเบส ดังภาพที่ 1 ข.
ภาพที่ 1 ก. โครงสร้างของนิวคลีโอไทด์ ใน DNA ข. ชนิดของนิวคลีโอไทด์
ที่มา : หนังสือเรียน สสวท. ชีววิทยาเพิ่มเติม เล่ม 1
นอกจากนี้นิวคลีโอไทด์ยังเป็นสารให้พลังงาน เช่น ATP (adenosine triphosphate) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ภาพที่ 3 โครงสร้างของ ATP
ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/File:Adenosintriphosphat_protoniert.svg
โมเลกุล DNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย เรียงตัวสลับทิศทางกันและมีส่วนของเบสเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไฮโดรเจน ดังภาพที่ 4 โมเลกุลบิดเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียน ส่วน RNA เป็นพอลินิวคลีโอไทด์เพียงสายเดียว
DNA และ RNA มีน้ำตาลที่เป็นองค์ประกอบต่างกัน ใน DNA เป็นน้ำตาลดีออกซีไรโบส (deoxyribose sugar) ส่วนใน RNA เป็นน้ำตาลไรโบส (ribose sugar) เบสที่พบใน DNA และ RNA มีบางชนิดที่เหมือนกัน และบางชนิดต่างกัน
น้ำตาลที่เป็นองค์ประกอบของนิวคลีโอไทด์ เป็นน้ำตาลเพนโทส (Pentose sugar) : น้ำตาลที่เกิดจากคาร์บอนจำนวน 5 อะตอม ใน DNA และ RNA จะต่างกัน
น้ำตาลดีออกซีไรโบส (Deoxyribose) C5H10O4
เป็นโครงสร้างใน DNA น้ำตาลไรโบส (Ribose) C5H10O5
เป็นโครงสร้างใน RNA, ATP,NAD,NADP
และ FAD
ภาพที่ 5 แสดงโครงสร้างน้ำตาลที่เป็นองค์ประกอบของนิวคลีโอไทด์
ที่มา : http://www.buzzle.com/articles/ribose-vs-deoxyribose.html
น่ารู้ การนับตำแหน่ง C ในน้ำตาล ให้ใช้ตัวไพรม์ (,) กำกับ เช่น 1’ 2’ 3’ เป็นต้น จะไม่ใช้เลขเดี่ยวๆ เพราะจะทำให้เกิดความสับสนกับตำแหน่งของเบสได้ * การนับตำแหน่งสำคัญมากในการศึกษาโครงสร้างต่อไป
ภาพที่ 6 แสดงการนับตำแหน่ง C ของน้ำตาลในโมเลกุลนิวคลีโอไทด์
ที่มา : http://www.thaibiotech.info/what-is-nucleotide.php
คำชี้แจง
1) ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง กรดนิวคลีอิก แล้วตอบคำถามต่อไปนี้ใช้เวลา 10 นาที
1. กรดนิวคลีอิก คืออะไร
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. กรดนิวคลีอิก ประกอบด้วยหน่วยย่อยคือ.......................................มาต่อกันเป็นสายยาวเรียกว่า...........................................................................................................................................................
3. โมเลกุลของกรดนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยหน่วยย่อยคืออะไร
..........................................................................................................................................................
4. นิวคลีโอไทด์แต่ละชนิดแตกต่างกันตรงส่วนใด
...........................................................................................................................................................
5. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบส 1 วงแหวน เรียกว่า ไพริมีดิน ได้แก่ เบส...........................................................
6. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบส 2 วงแหวน เรียกว่า พิวรีน ได้แก่ เบส...........................................................
7. นิวคลีโอไทด์ที่เป็นสารให้พลังงานในสิ่งมีชีวิต เรียกว่า.......................................................................
มีความแตกต่างจากนิวคลีโอไทด์ที่เป็นส่วนประกอบของ DNA และ RNA อย่างไร
...........................................................................................................................................................
8. โมเลกุล DNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย เรียงตัวสลับทิศทางกันและมีส่วนของเบสเชื่อมต่อกันด้วยพันธะ................................โดยเบส A จับกับ T ด้วย........................... (พันธะเดี่ยว/คู่/สาม) และ เบส C จับกับ G ด้วย........................... (พันธะเดี่ยว/คู่/สาม)
นักเรียนได้คะแนน....................................................................คะแนน
คำชี้แจง
1) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเรื่องโครงสร้างของ DNA ตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในใบกิจกรรม ใช้เวลา 15
นาที ดังรายละเอียดต่อไปนี้
จุดประสงค์
1. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูล จัดกระทำข้อมูลเพื่อต่อโครงสร้าง DNA ได้ถูกต้อง
2. นักเรียนสามารถนำเสนอรายละเอียดโครงสร้างของ DNA
วัสดุและอุปกรณ์
1. โครงสร้าง DNA กระดาษ (ที่มา : http://mrsgiegler.weebly.com) 2. กาว
3. กรรไกร
วิธีการทำกิจกรรม
1. นักเรียนตัดโครงสร้างสายพอลีนิวคลีโอไทด์ให้สวยงาม
2. ทำการต่อโครงสร้าง DNA กระดาษให้เข้าคู่กันให้ถูกต้อง
3. นักเรียนศึกษาโครงสร้าง DNA
4. บันทึกผลการทำกิจกรรม และตอบคำถาม
บันทึกผลการทำกิจกรรม
ให้นักเรียนเขียนลำดับเบสของสายพอลีนิวคลีโอไทด์ที่จับคู่กันจากโครงสร้าง DNA กระดาษของนักเรียน
โดยเขียนกำหนดทิศทางดังตัวอย่าง
5’ A T T C C G A C A T C 3’
3’ T A A G G C T G T A G 5’
สรุปผลการทำกิจกรรม
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................................
อภิปรายหลังการทำกิจกรรม
จงตอบคำถามต่อไปนี้
o นิวคลีโอไทด์แต่ละตัวจะต่อกับนิวคลีโอไทด์ตัวอื่นที่ตำแหน่งใด
......................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
o ให้นักเรียนเขียนคู่ของเบสที่จับกันให้ถูกต้อง
......................................................................................................................................................
o นักเรียนคิดว่าปริมาณของเบสใดที่จะเท่ากันบ้าง เพราะเหตุใด
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................
o จากโครงสร้าง DNA ส่วนใดทำหน้าที่คล้ายสิ่งที่กำหนดให้ต่อไปนี้
- ราวบันได.........................................................................................................................
- ขั้นบันได..........................................................................................................................
o ถ้า DNA สายหนึ่งมีลำดับเบสเป็น AGGCGTACGAATCCG ลำดับเบสอีกสายหนึ่งจะมีเป็นอย่างไร
......................................................................................................................................................
o จากภาพที่ 5 นิวคลีโอไทด์สายใดเป็นสายจาก 5’ ไป 3’ เพราะเหตุใด
......................................................................................................................................................
o จากภาพที่ 5 นิวคลีโอไทด์สายใดเป็นสายจาก 3’ ไป 5’ เพราะเหตุใด
......................................................................................................................................................
ภาพที่ 7 โครงสร้างของ DNA
ที่มา : หนังสือเรียน สสวท. ชีววิทยาเพิ่มเติม เล่ม 1
คำชี้แจง
1) ให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อน ศึกษาเรื่องโครงสร้างของ DNA และ RNA ตามขั้นตอนที่ระบุไว้ใน
ใบกิจกรรม ใช้เวลา 10 นาที ดังรายละเอียดต่อไปนี้
จุดประสงค์
1. นักเรียนสามารถบอกความแตกต่างของ DNA และ RNAได้
2. นักเรียนสามารถบอกรายละเอียดโครงสร้างของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอได้
วัสดุและอุปกรณ์
1. ชุดแผ่นภาพ DNA และ RNA
วิธีการทำกิจกรรม
1. นักเรียนรับแผ่นภาพ DNA และ RNA ทีมละ 1 ชุด
2. เปลี่ยนกันทายความแตกต่างของ DNA และ RNA คนละ 1 ครั้ง สลับกันไป ซึ่งในภาพ 1 ชุดจะมีความแตกต่างอยู่ 3 ลักษณะ
3. เมื่อทายเสร็จให้นักเรียนแต่ละทีมดูเฉลย ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน
4. นักเรียนสรุปคะแนนที่ทำได้ของตัวเองและบั๊ดดี้
5. นักเรียนช่วยกันเติมคำในตารางให้สมบูรณ์
คะแนนของนักเรียน (3) คะแนนของบั๊ดดี้ (3)
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของ DNA และ RNA
ข้อ ลักษณะ DNA RNA
1.
2.
3.
4. ตำแหน่งที่พบในเซลล์ นิวเคลียส ไมโทคอนเดรีย
คลอโรพลาสต์ นิวคลีโอลัส ไซโทพลาซึม
5. หน้าที่ภายในเซลล์ ถ่ายทอดลักษณะ สังเคราะห์โปรตีน
แบบทดสอบหลังเรียน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 5 กรดนิวคลีอิก
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวและทำเครื่องหมาย X ลงในกระดาษคำตอบ
1. ข้อใดไม่ใช่โครงสร้างของ DNA
ก. มีน้ำตาลชนิด C5H10O4
ข. มีหน่วยที่เล็กที่สุดคือ มอนอนิวคลีโอไทด์
ค. ลักษณะของโมเลกุลนิวคลีโอไทด์เป็นสายเดี่ยว
ง. อัตราส่วนของเบส A : T และ G : C ในโมเลกุลจะเป็น 1 : 1 เสมอ
2. ข้อใดที่แสดงxxxส่วนของ DNA ได้ถูกต้อง
ข้อ ไทมีน กวานีน อะดีนีน ไซโทซีน
ก 27 23 28 22
ข 27 28 22 23
ค 22 23 27 28
ง 23 27 28 22
3. ในการทำลายดีเอ็นเอ (denature) โดยใช้ความร้อน ข้อใดต้องใช้ความร้อนมากที่สุด
ก. ดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยไทมีน 30%
ข. ดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยกวานีน 25%
ค. ดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยอะดีนีน 35%
ง. ดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยไซโทซีน 30%
4. จากการศึกษาโครงสร้างของ DNA และ RNA พบว่าเหมือนกันอย่างไร
ก. แหล่งที่พบเหมือนกัน
ข. มีน้ำตาล 5C เหมือนกัน
ค. มีเบส 4 ชนิดเหมือนกัน
ง. ประกอบด้วยหมู่ฟอสเฟตเหมือนกัน
5. DNA ของสิ่งมีชีวิตหนึ่งมีเบสอยู่ 9 ตัว ตัวเลือกใดเป็น DNA นี้
ก. ACCGCAUGA
ข. AUCCCACAC
ค. ATATCCAGC
ง. UCCGAGTTA
6. RNA มีส่วนประกอบใดที่สำคัญ
a. ไนโตรจีนัสเบส b. หมู่ฟอสเฟส c. ดีออกซีไรโบส
ก. เฉพาะข้อ a
ข. a และ b
ค. b และ c
ง. a b และ c
7. ลำดับเบสของ DNA สายหนึ่งเรียงลำดับเป็น A C G T A C G T อีกสายหนึ่งจะมีเบสเรียงกันอย่างไร
ก. T A C G T A C G
ข. A C G T A C G T
ค. T G C A T G C A
ง. U G C A U G C A
8. กำหนดให้ B= เบส P= ฟอสเฟต S = น้ำตาล
นิวคลีโอไทด์ในข้อใดแสดงการจับตัวได้ถูกต้อง
ก. B-S-P = P-S-B
ข. P-S-B = B-S-P
ค. S-B-P = P-B-S
ง. P-B-S = S-P-B
9. จากรูปเป็นโครงสร้างของดีเอ็นเอ ไนโตรเจนเบส หมายเลข 1 คืออะไร และ เบสที่จับกับไนโตรเจนเบส หมายเลขที่ 3 คืออะไร
ก. กวานีน ไทมีน
ข. อะดีนีน กวานีน
ค. ไซโทซีน อะดีนีน
ง. อะดีนีน ไซโทซีน
10. ภาพโครงสร้างส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอ (DNA)
สัญลักษณ์ และ คืออะไร ตามลำดับ
ก. น้ำตาล และ เบส
ข. ฟอสเฟต และ เบส
ค. น้ำตาล และ ฟอสเฟต
ง. ฟอสเฟต และ นิวคลีโอไทด์
***************************************************************************************************
กระดาษคำตอบ ชุดกิจกรรมที่ 5 กรดนิวคลีอิก
แบบทดสอบก่อนเรียน
ข้อ ก ข ค ง
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
แบบทดสอบหลังเรียน
ข้อ ก ข ค ง
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน
คะแนนแบบทดสอบหลังเรียน
พัฒนาขึ้นร้อยละ
ตั๋วออก (Exit Ticket)
เรื่อง กรดนิวคลีอิก
3 – 2 –
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องสมบูรณ์
วันนี้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง (เขียนสรุปแนวความคิดหลักที่ได้จากการเรียน)
2. อะไรที่ยังไม่เข้าใจ (เขียนคำถามที่ยังสงสัยจากการเรียนรู้ 1 คำถาม)
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
นักเรียนจะแก้ไข/พัฒนาอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………....
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
ชุดกิจกรรมที่ 5 กรดนิวคลีอิก
แบบทดสอบก่อนเรียน
ข้อ ก ข ค ง
1 X
2 X
3 X
4 X
5 X
6 X
7 X
8 X
9 X
10 X
แบบทดสอบหลังเรียน
ข้อ ก ข ค ง
1 X
2 X
3 X
4 X
5 X
6 X
7 X
8 X
9 X
10 X
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนประเมินตนเอง
ชื่อ-สกุล.......................................................................................ชั้น...............เลขที่.............
รายการประเมิน พฤติกรรมที่แสดงออก ระดับคุณภาพ
1 2 3
1. ความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น 1. มีความใฝ่ใจที่จะสืบเสาะแสวงหาความรู้ในสถานการณ์และปัญหาใหม่ ๆ อยู่เสมอ
2. มีความกระตือรือร้นต่อกิจกรรมและเรื่องต่าง ๆ
3. ชอบทดลองค้นคว้า
4. ชอบสนทนา ซักถาม ฟัง อ่าน เพื่อให้ได้รับความรู้เพิ่มเติม
2. ความรับผิดชอบมุ่งมั่นและอดทน 5. ไม่ท้อถอยในการทำงานเมื่อมีอุปสรรคหรือล้มเหลว
6. เว้นการกระทำอันเป็นผลเสียหายต่อส่วนรวม
7. ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สมบูรณ์ตามกำหนดและตรงต่อเวลา
3. ความมีเหตุผล 8. ยอมรับในคำอธิบายเมื่อมีหลักฐานหรือข้อมูลมาสนับสนุนอย่างเพียงพอ
9. พยายามอธิบายสิ่งต่าง ๆ ในแง่เหตุและผล ไม่เชื่อโชคลางหรือคำทำนายที่ไม่สามารถอธิบายตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้
10. อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
11. ตรวจสอบความถูกต้องหรือความสมเหตุสมผลของแนวคิดต่าง ๆ กับแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
4. ความมีระเบียบเรียบร้อย 12. นำวิธีการหลาย ๆ วิธีมาตรวจสอบผลหรือวิธีการทดลอง
13. มีความละเอียดถี่ถ้วนในการทำงาน
14. ทำงานอย่างมีระเบียบเรียบร้อย
5. ความซื่อสัตย์ 15. เสนอความจริง ถึงแม้ว่าผลการทดลองจะแตกต่างจากผู้อื่น
16. บันทึกข้อมูลตามความเป็นจริงและไม่ใช้ความคิดเห็นของตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง
17. ไม่แอบอ้างผลงานของผู้อื่นว่าเป็นผลงานของตนเอง
6. ความใจกว้างร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 18. รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ ข้อโต้แย้ง หรือข้อคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้อื่น
19. ไม่ยึดมั่นในความคิดของตนเองและยอมรับการเปลี่ยนแปลง
20. ยอมพิจารณาข้อมูลหรือความคิดที่ยังสรุปแน่นอนไม่ได้และพร้อมที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติม
คะแนนรวม
คะแนนเฉลี่ย
=
ที่มา : คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ม.4-6.
คำชี้แจง ให้ผู้ประเมินเขียนเครื่องหมาย ลงในช่องว่างที่ตรงกับความเป็นจริง
สรุปผลการประเมิน เขียนเครื่องหมาย ลงในวงกลม
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ควรปรับปรุง (1.00 - 1.66)
พอใช้ (1.67 - 2.33)
ดีมาก (2.34 - 3.00)
ตัวอย่าง เด็กชายเอ ได้คะแนนรวมเท่ากับ 3+14 + 30 = 47
คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 47/20 = 2.35
จากคะแนนเฉลี่ยเมื่อเทียบกับเกณฑ์การตัดสินคุณภาพจะอยู่ในระดับดีมาก
คำชี้แจง ลักษณะของแบบวัดประกอบด้วยคำแสดงคุณลักษณะเป็นคู่ ๆ ที่มีความหมายตรงกัน ข้าม ให้พิจารณาว่า “นักเรียนมีความรู้สึกเช่นนั้นมากน้อยเพียงใด” เมื่อพิจารณาแล้ว ตอบโดยทำเครื่องหมาย ทับในช่อง
ตัวเลขที่นักเรียนมีความรู้สึกนั้น
ตัวอย่าง นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรต่อวิชาวิทยาศาสตร์
ไม่ชอบ 1 2 3 4 5 6 7 ชอบ
ถ้านักเรียนตอบช่อง 6 แสดงว่า นักเรียนรู้สึกชอบวิชาวิทยาศาสตร์ค่อนข้างมาก
ไม่สบายใจ 1 2 3 4 5 6 7 สบายใจ
ถ้านักเรียนตอบช่อง 2 แสดงว่า นักเรียนรู้สึกไม่ค่อยสบายใจเมื่อเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรต่อแผนการเรียนรู้ที่ ........
1. ยาก 1 2 3 4 5 6 7 ง่าย
2. ไม่เข้าใจ 1 2 3 4 5 6 7 เข้าใจ
3. น่าเบื่อ 1 2 3