ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา : วรกัญญา จันแก้ว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา : 2559
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและก่อนเรียน รวมทั้งเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทานตะวันวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 21 แผน เวลาเรียน 21 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนนและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 20 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ คือร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด (x- = 4.53) และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 3.51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05