LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

ผลการพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย

usericon

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ ระหว่างที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย และเพื่อเปรียบเทียบผลของการพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1)คู่มือการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เพื่อพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประกอบด้วยกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย จำนวน 30 กิจกรรม 2) แผนการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยเพื่อพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประกอบด้วยหน่วยการเรียน 10 หน่วย ๆ ละ 3 แผน รวมทั้งหมด 30 แผน และ3) แบบสังเกตพฤติกรรมความพร้อมทางด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประกอบด้วย การปฏิบัติตามข้อตกลง การรอคอยตามลำดับก่อน-หลัง และการเป็นผู้นำผู้ตาม และการเล่นร่วมกับผู้อื่น ใช้ประเมินก่อนจัดกิจกรรม(O )ระหว่างการจัดกิจกรรมเมื่อสิ้นสุดแต่ละสัปดาห์ และหลังจัดกิจกรรม (O ) หลังจากเด็กปฏิบัติกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยเพื่อพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคม โดยใช้แบบสังเกตชุดเดียวกัน ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาของการใช้กิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยเพื่อพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัย คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ตั้งแต่วันที่ 27 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2558 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ.2558 เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ วันละ 40 นาที ในช่วงกิจกรรมกลางแจ้ง ตั้งแต่เวลา 11.00-11.40 น. เมื่อทำการประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมแล้วจากนั้นนำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมทางด้านสังคมทุกช่วงสัปดาห์และก่อนหลังการจัดกิจกรรมเป็นรายด้านและภาพรวม

ผลการศึกษาพบว่า

     1. พบว่าคะแนนพัฒนาการความพร้อมทางด้านสังคมระหว่างที่ได้รับการจัดกิจกรรมสัปดาห์ ที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ย 6.10 คิดเป็นร้อยละ 50.83 สัปดาห์ที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 7.29 คิดเป็นร้อยละ 60.75 สัปดาห์ที่ 3 มีค่าเฉลี่ยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 7.61 คิดเป็นร้อยละ 63.44 สัปดาห์ที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 8.00 คิดเป็นร้อยละ 66.67 สัปดาห์ที่ 5 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 9.00 คิดเป็นร้อยละ 75.00 สัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 9.48 คิดเป็นร้อยละ 79.03 สัปดาห์ที่ 7 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 9.84 คิดเป็นร้อยละ 81.99 สัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 10.77 คิดเป็นร้อยละ 89.78 สัปดาห์ที่ 9 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 11.32 คิดเป็นร้อยละ 94.35 และสัปดาห์ที่ 10 มีค่าเฉลี่ยคงที่เป็น 11.48 คิดเป็นร้อยละ 95.70 รวมทั้ง 10 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ย 90.90 คิดเป็นร้อยละ 75.75 ซึ่งผลการพัฒนาเพิ่มขึ้นตามลำดับเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมความพร้อมทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล ปีที่ 2/2 โรงเรียนอนุบาลเชียงของโดยภาพรวมหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย มีคะแนนพฤติกรรมความพร้อมทางด้านสังคมโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 11.71 คิดเป็นร้อยละ 97.58 สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย มีค่าเฉลี่ย 5.90 คิดเป็นร้อยละ 49.17

สรุปผลค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมความพร้อมทางด้านสังคมก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยแตกต่างกัน โดยหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ มีคะแนนพฤติกรรมความพร้อมทางด้านสังคมโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 11.71 สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยซึ่งมีค่าเฉลี่ย 5.90 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^