LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

แบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

usericon

คำนำ

แบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาศิลปะ รหัสวิชา ศ22101 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนรู้ ส่งเสริม และสนับสนุน ให้ผู้เรียนทุกคน พัฒนาทักษะวิชาทัศนศิลป์ เกิดความคิดรวบยอดจากเนื้อหาโดยสรุป ฝึกการปฏิบัติจริง และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแบบฝึกทักษะเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย มีผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจศึกษา ที่จะนำไปเป็นแนวทาง ในการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และนวัตกรรมทางการศึกษาต่อไป


    ปริชาติ วงค์เจริญ





สารบัญ
    
เรื่อง                                        หน้า
คำนำ                                         ก
สารบัญ                                     ข
คำชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์                      ค
คำแนะนำการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับครู                         ง
คำแนะนำการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียน                     จ
ลำดับขั้นตอนการใช้แบบฝึกทักษะ                        ฉ
มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้                 ช
แบบทดสอบก่อนเรียน                                 1
ใบความรู้ที่ 1                                    5
แบบฝึกทักษะที่ 1.1                                 7
ใบความรู้ที่ 2                                    8
แบบฝึกทักษะที่ 1.2                                 11
แบบฝึกทักษะที่ 1.3                                 12
แบบทดสอบหลังเรียน                                13
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน                            17
เฉลยแบบฝึกทักษะที่ 1.1                            18
เฉลยแบบฝึกทักษะที่ 1.2                            19
เฉลยแบบฝึกทักษะที่ 1.3                            20
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน                            21
บรรณานุกรม                                    22











คำชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์
1.    แบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีจำนวน 7 เล่ม ดังนี้
เล่มที่ 1 เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับทัศนธาตุและพื้นฐานการรับรู้
เล่มที่ 2 เรื่อง รูปแบบทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์
เล่มที่ 3 เรื่อง แนวคิดในงานทัศนศิลป์
เล่มที่ 4 เรื่อง ศิลปินทัศนศิลป์สาขาจิตรกรรม
เล่มที่ 5 เรื่อง ศิลปินทัศนศิลป์สาขาประติมากรรมและสื่อผสม
เล่มที่ 6 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการโฆษณา
เล่มที่ 7 เรื่อง ทัศนศิลป์กับงานโฆษณา
2.    แบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ เล่มที่ 1 เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับทัศนธาตุและพื้นฐานการรับรู้ ประกอบด้วย
2.1 คำชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์
2.2 คำแนะนำการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับครู
2.3 คำแนะนำการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียน
2.4 มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้
2.5 แบบทดสอบก่อนเรียน
2.6 ใบความรู้
2.7 แบบฝึกทักษะ
2.8 แบบทดสอบหลังเรียน
3.    แบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ศึกษา ทำความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
4.    แบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์ฉบับนี้ใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง












คำแนะนำการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับครู



แบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครูผู้สอน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินการเรียนรู้ของนักเรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ครูผู้สอน จึงควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้แบบฝึกทักษะ ดังนี้
1.    ครูควรเตรียมแบบฝึกทักษะให้พร้อมและครบถ้วนเพียงพอสำหรับนักเรียน
2.    ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อประเมินความรู้เดิมของนักเรียน
3.    ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
4.    ดำเนินการสอนตามกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้
5.    แจกแบบฝึกทักษะให้นักเรียนศึกษาพร้อมกับแนะนำวิธีการใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
6.    เมื่อนักเรียนทำแบบฝึกทักษะเสร็จแล้วให้นักเรียนส่งให้ครูตรวจ
7.    ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
8.    เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน และบันทึกคะแนนของนักเรียนแต่ละคน เพื่อประเมินการพัฒนาและความก้าวหน้า
9.    ครูสังเกตความตั้งใจของนักเรียน ความสนใจในการเรียน การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ของนักเรียนทุกกลุ่มอย่างใกล้ชิด ถ้ากลุ่มใดมีปัญหาครูทำหน้าที่แนะนำ



















คำแนะนำการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียน



ในการศึกษาแบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่มที่ 1 เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับทัศนธาตุและพื้นฐานการรับรู้ นักเรียนควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
1.    นำแบบฝึกทักษะมาเรียนทุกครั้ง
2.    ปฏิบัติตนตามคำแนะนำการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียน และลำดับขั้นตอนการใช้ แบบฝึกทักษะ
3.    สำหรับนักเรียนอ่านให้เข้าใจก่อนลงมือทำงานหรือทำการศึกษาทุกครั้ง
4.    ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้เดิมของนักเรียน
5.    ในการศึกษาเนื้อหาและทำแบบฝึกทักษะ ถ้าทำแบบฝึกทักษะไม่ได้ให้กลับไปทบทวน แบบฝึกด้วยตนเอง หรือหากไม่เข้าใจให้นักเรียนสอบถามจากครูผู้สอน ทำแบบฝึกด้วยความสนใจและตั้งใจ
6.    เมื่อนักเรียนทำแบบฝึกทักษะในแต่ละเล่มเสร็จแล้ว ให้นักเรียนส่งแบบฝึกทักษะให้ครูตรวจแล้วจึงสามารถดูเฉลยแบบฝึกทักษะซึ่งอยู่ด้านหลังได้
7.    ในการทำแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน ให้นักเรียนพยายามทำความตั้งใจและมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองมากที่สุด
8.    ทำแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน
























ลำดับขั้นตอนการใช้แบบฝึกทักษะ



อ่านคำแนะนำ


ทดสอบก่อนเรียน


ทำแบบฝึกทักษะ


ทดสอบหลังเรียน



ผ่านเกณฑ์    ไม่ผ่านเกณฑ์




ศึกษาแบบฝึกทักษะเล่มถัดไป    


แผนภูมิ ลำดับขั้นตอนการใช้แบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์























มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้


มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
    มาตรฐาน ศ1.1    สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด ต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน    
    ศ1.1 ม.2/1    อภิปรายเกี่ยวกับทัศนธาตุในด้านรูปแบบและแนวคิดของงานทัศนศิลป์ ที่เลือกมา
        
จุดประสงค์การเรียนรู้

1.    อภิปรายเกี่ยวกับความหมายของทัศนธาตุได้ ( K )
2.    อธิบายเกี่ยวกับพื้นฐานการรับรู้ของมนุษย์ที่มีต่องานทัศนศิลป์ได้ ( K )
3.    สามารถสื่อสารและนำความรู้เกี่ยวกับทัศนธาตุและพื้นฐานการรับรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ( P )
4.    ชื่นชมและเห็นคุณค่าของทัศนธาตุและพื้นฐานการรับรู้ ( P )
5.    มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน ( A )














แบบทดสอบก่อนเรียน

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว ทำเครื่องหมาย X ลงในช่อง ก ข ค และ ง
ในกระดาษคำตอบ
    
1.    ข้อใดเป็นปัจจัยของการมองเห็นในงานทัศนศิลป์
ก.    ทัศนธาตุ
ข.    ทัศนศิลป์
ค.    ประสบการณ์
ง.    เนื้อหาสาระของงาน
2.    “พื้นฐานการรับรู้” มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์อย่างไร
ก.    ทำให้มีความคิดและจินตนาการที่ไร้ขอบเขต
ข.    ทำให้มีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
ค.    เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างถูกต้อง
ง.    สามารถวิเคราะห์ จำแนก และแยกแยะองค์ประกอบทางศิลปะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.    ผู้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่ดีควรใช้ทัศนธาตุในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างไร
ก.    ใช้หลักความกลมกลืนและความขัดแย้ง
ข.    จัดวางอย่างมีเอกภาพ มีความสมดุล และมีจุดเด่น
ค.    จัดวางโดยใช้จินตนาการควบคู่กับแนวคิดที่ทันสมัย
ง.    ออกแบบผลงานตามแนวสมัยนิยม หรือผู้นำทางศิลปะ
4.    เมื่อวาดภาพและระบายสีต้นไม้ 1 ต้นลงในกระดาษ จะปรากฎทัศนธาตุใดบ้าง
ก.    รูปทรง สี พื้นที่ว่าง น้ำหนักอ่อนแก่ พื้นผิว
ข.    รูปร่าง รูปทรง และสีเขียวที่เป็นสีของต้นไม้
ค.    ต้นไม้สีสันเหมือนจริงตามประสบการณ์ผู้วาด
ง.    xxxส่วนต้นไม้เหมาะสม มีความสมดุลกับกระดาษ







5.    “มองไปที่ภาพวาดภาพนั้นแล้วบอกครูซิว่าเห็นอะไรบ้าง” จากข้อความหมายถึงสิ่งใด
ก.    การมอง
ข.    การเห็น
ค.    การวิเคราะห์
ง.    การประเมินค่า
6.    บุคคลใดต่อไปนี้แสดงพฤติกรรม “การมอง (Looking)”
ก.    วันดีกำลังข้ามถนน สิ่งที่รับรู้เบื้องหน้า คือ ช่วงจังหวะที่รถว่าง มีความปลอดภัยขณะข้ามถนน แต่ไม่สามารถจดจำสีของรถ และหน้าตาคนขับได้
ข.    อานนท์กำลังข้ามถนน สิ่งที่รับรู้เบื้องหน้า คือ ช่วงจังหวะที่รถว่าง มีความปลอดภัยขณะข้ามถนน โดยไม่สามารถจดจำสีของรถ และหน้าตาคนขับที่ผ่านไปมาได้
ค.    วิชาข้ามถนน สิ่งที่รับรู้เบื้องหน้า คือ ช่วงจังหวะที่รถว่าง มีความปลอดภัยขณะข้ามถนน เขาสามารถจดจำยี่ห้อรถ และหน้าตาของคนขับที่ผ่านไปมาได้ชัดเจน
ง.    ชาญชัยข้ามถนน สิ่งที่รับรู้เบื้องหน้า คือ ช่วงจังหวะที่รถว่าง มีความปลอดภัยขณะข้ามถนน เขาสามารถจดจำยี่ห้อรถ และหน้าตาของคนขับที่ผ่านไปมาได้ชัดเจน
7.    “การสร้างภาพให้เกิดมิติความตื้นลึก” เป็นความหมายของทฤษฎีการเห็นในข้อใด
ก.    การเห็นรูปและพื้น
ข.    การเห็นแสงและเงา
ค.    การเห็นความเคลื่อนไหว
ง.    การเห็นตำแหน่งและxxxส่วน
8.    ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการเห็น
ก.    ทฤษฎีการเห็นเป็นทฤษฎีที่นำไปสู่การปฏิบัติจริงในงานทัศนศิลป์
ข.    การรับรู้ทางการเห็นของมนุษย์มีลักษณะที่เห็นเหมือนกัน เท่าเทียมกันทุกคน
ค.    การเห็นตำแหน่งและxxxส่วน เป็นการเห็นที่ช่วยให้วาดรูปทรงได้ขนาด และxxxส่วนที่เหมาะสม
ง.    การรับรู้ทางการเห็นของมนุษย์ เป็นกระบวนการทางธรรมชาติ เป็นเรื่องของจักษุสัมผัสของบุคคล








9.    ทฤษฎีการเห็น ประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง
ก.    การเห็นรูปและพื้น การเห็นแสงและเงา การเห็นพื้นผิวของวัตถุ และการเห็น
ความเคลื่อนไหว
ข.    การเห็นรูปและพื้น การเห็นแสงและเงา การเห็นตำแหน่งและxxxส่วน และการเห็น
ความเคลื่อนไหว
ค.    การเห็นสีของสิ่งของ การเห็นแสงและเงา การเห็นตำแหน่งและxxxส่วน และการเห็น
ความเคลื่อนไหว
ง.    การเห็นสีและแสงเงา การเห็นทัศนธาตุของวัตถุ การเห็นตำแหน่งและxxxส่วน และการเห็น
ความเคลื่อนไหว
10.    “ในการเขียนภาพให้มีความเป็นธรรมชาติ การสร้างและกำหนดระยะใกล้ – ไกล จะช่วยให้ผลงานทัศนศิลป์มีความสมจริง” จากข้อความ เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการเห็นในข้อใด
ก.    การเห็นสีของสิ่งของ
ข.    การเห็นความเคลื่อนไหว
ค.    การเห็นทัศนธาตุของวัตถุ
ง.    การเห็นตำแหน่งและxxxส่วน















กระดาษคำตอบ



แบบทดสอบก่อนเรียน
ข้อ    ก    ข    ค    ง
1                
2                
3                
4                
5                
6                
7                
8                
9                
10                




















ใบความรู้ที่ 1

ความรู้เกี่ยวกับทัศนธาตุ
    ทัศนธาตุ (Visual Element) หมายถึง ส่วนประกอบของการมองเห็น หรือสิ่งที่เป็นปัจจัย ของการมองเห็นในผลงานทัศนศิลป์ อันประกอบไปด้วย จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อน – แก่ พื้นที่ว่าง พื้นผิว และสี ซึ่งเป็นสื่อด้านสุนทรียภาพที่ศิลปินนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงาน เพื่อสื่อความหมายตามแนวคิด โดยนำทัศนธาตุดังกล่าวมาประกอบ หรือประสานให้เข้ากัน จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวและ เกิดการรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ความเป็นเอกภาพ ความกลมกลืน และความสมดุล
    ในการสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปินอาจใช้ทัศนธาตุอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ศิลปินจะใช้เพียงทัศนธาตุเดียวในการสร้างสรรค์ผลงาน ทัศนธาตุอื่นๆ ก็จะปรากฏขึ้นเอง เช่น เมื่อใช้เส้นวาดรูปทรงขึ้นชิ้นหนึ่ง จะเกิดพื้นที่ว่าง และรูปร่างขึ้นพร้อมกับเส้น และเมื่อใช้สีระบายลงในรูปทรงที่ใช้เส้นวาด ทัศนธาตุอื่นก็จะปรากฏขึ้นมาด้วย โดยมีทั้งเส้นที่เป็นขอบเขตของรูปทรง สี พื้นที่ว่าง น้ำหนักอ่อน – แก่ แม้แต่สีที่ระบายลงไปก็จะปรากฏให้เห็นในลักษณะหยาบ หรือละเอียด มัน หรือด้าน เป็นต้น
    ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าผลงานทัศนศิลป์จะมีทัศนธาตุ เป็นองค์ประกอบสำคัญ กล่าวคือ เมื่อมีรูปทรงของงานทัศนศิลป์ปรากฏขึ้น ทัศนธาตุทั้งหลายจะประสานและรวมตัวกันอยู่ในงานทัศนศิลป์นั้นอย่างครบถ้วน ดังนั้น หากจะทำการวิเคราะห์รูปแบบของงานทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์ จึงจำเป็นต้องแยกทัศนธาตุออกไป เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาวิเคราะห์ รวมทั้งจะได้เข้าใจแนวความคิดและวัตถุประสงค์ของศิลปินในการเลือกรูปแบบทัศนธาตุมาสร้างสรรค์ผลงานทัศนธาตุชิ้นนั้น

ภาพวาดสุดท้ายของ อ.ถวัลย์ ดัชนี วาดขณะรักษาตัว เป็นภาพที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ
ที่มา http://hilight.kapook.com/view/107723






    ความเป็นเอกภาพ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งในการจัดวางภาพจะต้องทำให้เกิดความสัมพันธ์อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ไม่กระจัดกระจาย หรือทำให้เกิดความสับสน
    ความสมดุล ความคงที่ ความเท่ากัน และการถ่วงเพื่อให้เกิดความเท่ากัน ความเท่ากันนี้อาจจะไม่ได้เท่ากันจริง แต่อาจเท่ากันในความรู้สึก ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ สมดุลแบบซ้าย – ขวาเท่ากันและความสมดุลแบบซ้าย – ขวาไม่เท่ากัน หากนำความรู้เรื่องสมดุลไปใช้กับการจัดวางองค์ประกอบศิลป์ หรือการออกแบบ จำเป็นต้องคำนึงถึงสถานที่และความเกี่ยวข้องด้วย เช่น การออกแบบอาคารศาลยุติธรรม ต้องออกแบบให้มีความสมดุลที่มีดุลยภาพ 2 ข้างเท่ากัน ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของอาคารและอีกนัยหนึ่งเพื่อ สื่อถึงความเท่าเทียมกัน ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นต้น





























แบบฝึกทักษะที่ 1.1
    
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้สมบูรณ์
1.    ทัศนธาตุมีความสำคัญต่องานทัศนศิลป์อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
2.    ความเป็นเอกภาพ หมายถึงอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
3.    ความสมดุล ความคงที่ ความเท่ากัน และการถ่วงเพื่อให้เกิดความเท่ากัน ความเท่ากันนี้อาจจะไม่ได้เท่ากันจริง แต่อาจเท่ากันในความรู้สึก ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่อะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….










ใบความรู้ที่ 2


พื้นฐานการรับรู้
        

    เราเคยสังเกตเห็นนกจำนวนมากมาเกาะสายไฟฟ้าเป็นแนวยาวบริเวณริมถนน ถึงแม้ว่ารถจะวิ่งผ่านไปผ่านมาด้วยความเร็วและเสียงเครื่องยนต์ที่ดัง นกเหล่านั้นก็ยังเกาะสายไฟนิ่ง และส่งเสียงร้องจ้อกแจ้กจอแจ ไม่ได้เกิดความตกใจแต่อย่างใด นี่คือ การเรียนรู้ของนก ซึ่งในช่วงแรกๆ นกฝูงแรกเมื่อบินมาเกาะสายไฟ นกเหล่านั้นคงตกใจและบินหนีทุกครั้งที่มีรถวิ่งผ่าน แต่พอนานเข้า นกจะค่อยๆ เรียนรู้ว่าไม่มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นจากรถ จึงเลิกบินหนีถึงแม้ว่าจะมีรถวิ่งผ่านไปมาก็ตาม สำหรับนกตัวอื่นๆ ที่บินเข้ามาสมทบภายหลัง ก็จะค่อยๆ เรียนรู้พฤติกรรมของนกรุ่นก่อนๆ เมื่อนกรุ่นก่อนอยู่นิ่ง มันก็จะนิ่งตาม
    แต่ส่วนการรับรู้ของมนุษย์ มีมาตั้งแต่เกิด หรือที่เรียกกันว่า “สัญชาตญาณ” ซึ่งเป็นพฤติกรรมธรรมชาติโดยไม่ต้องมีการเรียนรู้มาก่อน เช่น เมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งพุ่งตรงมาใกล้นัยน์ตา ตาจะกะพริบ หรือเมื่อมือไปถูกของร้อนเราก็จะชักมือออก เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นการรับรู้ที่เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ เพื่อให้ตนเองรอดพ้นจากอันตราย
    มนุษย์มีความรับรู้ต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป ซึ่งการรับรู้เกิดขึ้นจากประสาทสัมผัสแต่ในด้านของความคิดและความเข้าใจยังเป็นสิ่งที่ถูกต้องบ้างและไม่ถูกต้อง้าง จนกว่ามนุษย์จะได้รับรู้ต่อสิ่งเดียวกันหลายๆ ครั้ง จนเกิดการเรียนรู้ต่อสิ่งเหล่านั้น ซึ่งหลังจากเรียนรู้ก็จะสามารถวิเคราะห์ จำแนก และแยกแยะสิ่งต่างๆ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น จากนั้นก็จะถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านทางกระบวนการเรียนรู้และอบรมสั่งสอน








    สำหรับพื้นฐานทางการรับรู้ของมนุษย์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้
1.    การรับรู้ทางการมองเห็น
การรับรู้ทางการมองเห็น คือ การรับรู้ที่เกิดจากจักษุสัมผัส ซึ่งเป็นการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
เมื่อเทียบกับการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสด้านการได้ยิน ด้านกายสัมผัส และด้านรสสัมผัส มนุษย์สามารถรับรู้ได้จากการมองเห็น โดยใช้นัยน์ตาเป็นอวัยวะรับภาพและมีสมองทำหน้าที่แปลความหมายของภาพที่ได้รับมาจากการมองเห็น ซึ่งการรับรู้จากการมองเห็นในทางจิตวิทยา สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1)    การมอง(Looking) เป็นอาการของมนุษย์ที่กระทำโดยไม่ได้มีความตั้งใจแน่นอน แต่เป็นไป
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งขณะนั้น เช่น เวลาเราเดินข้ามถนน เป้าหมายของเราเป็นฝั่งตรงข้าม ซึ่งเราจะต้องข้ามไป ดังนั้น เราก็จะมองดูให้แน่ใจว่าไม่มีรถวิ่งผ่านมา ถนนว่าง แล้วเราจึงเดินข้าม นั่นคือ วัตถุประสงค์หลักของการมอง ซึ่งการมองในลักษณะนี้ ผู้มองจะไม่ใส่ใจว่ารถที่ผ่านหน้าไปมีสีอะไร เป็นรถประเภทใด หรือมีคนนั่งทั้งสิ้นกี่คน เราจะไม่เก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ นอกจากรู้ว่ามีรถผ่านไป การมองลักษณะนี้ถือเป็นการมองแบบธรรมดา
2)    การเห็น(Seeing) เป็นกระบวนการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา ซึ่งสามารถบอกรายละเอียด
สิ่งที่เห็นได้ ผู้เรียนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “มองไปที่ภาพวาดนั้นแล้วบอกด้วยว่าเห็นอะไรบ้าง” การกล่าวเช่นนี้ช่วยทำให้เราแยกความแตกต่างของการมองกับการเห็นได้ชัดเจนขึ้น การเห็นมีกระบวนการเก็บข้อมูลของสมองไปตามระดับการเห็น โดยอาจเป็นการเห็นแบบธรรมดาที่ไม่มีรายละเอียดมากนัก ไปจึงถึงเห็นความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน อันเป็นระดับการเห็นที่มีความทะลุปรุโปร่งมีความละเอียดลึกซึ้ง
     การศึกษาเกี่ยวกับการมองเห็น ผู้เรียนต้องพยายามสั่งสมประสบการณ์ทางการเห็นให้มากขึ้นด้วยการฝึกสังเกตจากสิ่งรอบๆ ตัวอย่างพินิจพิเคราะห์โดยอาจเริ่มต้นจากมองงานทัศนศิลป์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นภาพรวมก่อน แล้วจึงมองแบบจำแนกและแยกแยะหาองค์ประกอบของภาพ เช่น ความสมดุลของรูปทรง หรือน้ำหนักอ่อน – แก่ของสี ความกลมกลืน ความเป็นเอกภาพของงานทัศนศิลป์ชิ้นนั้น รายละเอียดของเส้น สี แสง – เงา พื้นที่ว่าง รูปทรง ตลอดจนลักษณะพื้นผิว ซึ่งทั้งหมดเป็นรายละเอียดของภาพ ก็จะทำให้เราเห็นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของรูปแบบทัศนธาตุที่ปรากฏอยู่ในรูปทรงของภาพ การมองเห็นเช่นนี้ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ตัวผลงานทัศนศิลป์ รูปแบบของทัศนธาตุ ประเภทของผลงาน หรือเนื้อหาที่ต้องการสื่อตามแนวคิดของศิลปินผู้สร้างได้ง่ายขึ้น











2.    ทฤษฏีการเห็น(Visual Theory)
การรับรู้การเห็นของมนุษย์ ถือเป็นกระบวนการทางธรรมชาติ โดยเป็นเรื่องของจักษุสัมผัสความสัมพันธ์กับประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้เคยผ่านพบมาหรือเป็นสิ่งเร้าภายนอก ทำให้เกิดการรับรู้ภาพที่ปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถอธิบายเกี่ยวกับทฤษฏีการมองเห็นได้ 4 ประการ ดังนี้
1)    การเห็นรูปและพื้น เป็นองค์ประกอบแรกที่มนุษย์มองเห็น ถ้าเป็นภาพจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมื่อเรามองเห็นวัตถุใดวัตถุหนึ่ง เราจะสามารถรับรู้ได้เป็นอันดับแรกพร้อมๆ กันทั้งรูปและ พื้นหลัง โดยมีวัตถุเป็นรูปทรงและบริเวณรอบๆ เป็นพื้น แต่จะเห็นส่วนใดเป็นรูปทรงของวัตถุและส่วนใดเป็นพื้นนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเพ่งมองและให้ความสำคัญกับบริเวณใดของภาพ ซึ่งภาพบางภาพ หรือชิ้นงานศิลปะบางชิ้น เราอาจมองเห็นรูปทรงกับพื้นสลับกับการมองเห็นของอีกคนหนึ่งก็ได้ ส่วนภาพ เหมือนจริง หรือภาพสัญลักษณ์ที่ต้องการจะสื่อสารให้เกิดความชัดเจน จะต้องทำให้รูปทรงมีความเด่นชัด แล้วลดความเด่นขอส่วนพื้นลงไป เพื่อให้สามารถระบุได้ง่ายว่าสิ่งใดเป็นรูปทรงและสิ่งใดเป็นพื้น
2)     การเห็นแสงและเงา เป็นการรับรู้ หรือมองเห็นวัตถุ เนื่องจากบริเวณที่วัตถุตั้งอยู่มีแสดงสว่างส่องกระทบเข้ามา ถ้าไม่มีแสงสว่างก็จะไม่มีน้ำหนักความเข้มปรากฏอยู่บนตัววัตถุ หรือถ้ามีแสงสว่างเท่ากันรอบวัตถุทุกด้าน ความเข้มของแสงและเงาก็จะลดน้อยลง ดังนั้น คุณค่าของแสงและเงาจึงมีอิทธิพลต่อรูปทรงของวัตถุ
3)     การเห็นความเคลื่อนไหว เป็นการรับรู้หรือมองเห็น เนื่องจากวัตถุมีการเคลื่อนไหว หรือ ตัวเราเป็นผู้ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเอง ในกรณีที่วัตถุเคลื่อนไหวเราจะมองเห็นเป็นการเคลื่อนที่ที่แสดงออกมาในลักษณะที่รวดเร็ว หรือเชื่องช้า เห็นทิศทาง จังหวะการเคลื่อนไหวของวัตถุ แต่ถ้าตัวเราเป็น ผู้เคลื่อนไหวเอง เราจะเห็นภาพของวัตถุมีการเปลี่ยนขนาดและรูปทรงไปตามมุม หรือทิศทางที่เราเคลื่อนไหว
4)     การเห็นตำแหน่งและxxxส่วน เป็นลักษณะการรับรู้ หรือมองเห็นวัตถุตามระยะห่างของ การมอง คือ ถ้าเราอยู่ใกล้วัตถุก็จะสามารถมองเห็นวัตถุได้ชัดและเห็นรายละเอียดมากขึ้น แต่ถ้าอยู่ไกลก็จะมองเห็นวัตถุไม่ชัดเจน หรือเมื่อเรามองวัตถุชิ้นเดียวกันในระยะใกล้จะเห็นว่ามีขนาดใหญ่กว่าเมื่อมอง ในระยะไกล การเห็นในลักษณะนี้จะมีความสัมพันธ์กับการพิจารณาวาดxxxส่วนของรูปทรงในผลงานทัศนศิลป์ โดยเฉพาะผลงานภาพวาดประเภทตามแบบ นอกจากนี้ ตำแหน่งแบ่งxxxส่วนของวัตถุยังมีความเกี่ยวข้องกับความใกล้ – ไกล ความชัดเจน ความพร่ามัวอีกด้วย อันเป็นผลของความสัมพันธ์ระหว่างระยะของตัวเรา ต่อการเห็นวัตถุ ดังนั้น ในการวาดภาพจึงต้องกำหนดมิติและระยะภาพที่แสดงความสัมพันธ์ให้มีความถูกต้อง ก็จะช่วยให้เราสามารถถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างสมจริง








แบบฝึกทักษะที่ 1.2
    
คำชี้แจง ให้นักเรียนพิจารณาข้อความที่กำหนดให้แล้วขีดเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ถูกต้อง
และขีดเครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง


1.    ทฤษฎีการเห็น เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการรับรู้ การเห็นของมนุษย์ ถือเป็นกระบวนการ
             ทางธรรมชาติ เป็นเรื่องของการเห็นที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้
             เคยพบมา ทำให้เกิดการรับรู้ภาพที่ปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกันไป
2.    ทฤษฎีการเห็น มี 4 ประการ ได้แก่ การเห็นรูปและพื้น การเห็นสีและเงา
การเห็นตำแหน่งและรูปร่าง และการเห็นความเคลื่อนไหว

3.    การเห็นรูปและพื้น เป็นองค์ประกอบแรกที่มนุษย์มองเห็น ถ้าเป็นภาพจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมื่อเรามองเห็นวัตถุใดวัตถุหนึ่ง เราจะสามารถรับรู้ได้เป็นอันดับแรกพร้อมๆ กันทั้งรูปและพื้นหลัง
4.    ใกล้ – ไกล ในการเขียนภาพให้มีความเป็นธรรมชาติ การสร้างและกำหนดระยะใกล้ - ไกล มีความสำคัญและช่วยให้ผลงานทัศนศิลป์ความสมจริง

5.    ประหยัด พงษ์ดำ เป็นศิลปินไทยที่สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ ด้านภาพพิมพ์ โดยได้รับรางวัลทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) ประจำปีพุทธศักราช 2551 รวมถึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม

            









แบบฝึกทักษะที่ 1.3
    
คำชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่ข้อความต่อไปนี้ให้ตรงกับความหมายของทฤษฎีการเห็นทั้ง 4 ประการให้ถูกต้อง
    
            


    
    


    
















แบบทดสอบหลังเรียน


คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว ทำเครื่องหมาย X ลงในช่อง ก ข ค และ ง
ในกระดาษคำตอบ
    
1.    “มองไปที่ภาพวาดภาพนั้นแล้วบอกครูซิว่าเห็นอะไรบ้าง” จากข้อความหมายถึงสิ่งใด
ก.    การมอง
ข.    การเห็น
ค.    การวิเคราะห์
ง.    การประเมินค่า
2.    ผู้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่ดีควรใช้ทัศนธาตุในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างไร
ก.    ใช้หลักความกลมกลืนและความขัดแย้ง
ข.    จัดวางอย่างมีเอกภาพ มีความสมดุล และมีจุดเด่น
ค.    จัดวางโดยใช้จินตนาการควบคู่กับแนวคิดที่ทันสมัย
ง.    ออกแบบผลงานตามแนวสมัยนิยม หรือผู้นำทางศิลปะ
3.    ข้อใดเป็นปัจจัยของการมองเห็นในงานทัศนศิลป์
ก.    ทัศนธาตุ
ข.    ทัศนศิลป์
ค.    ประสบการณ์
ง.    เนื้อหาสาระของงาน
4.    “พื้นฐานการรับรู้” มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์อย่างไร
ก.    ทำให้มีความคิดและจินตนาการที่ไร้ขอบเขต
ข.    ทำให้มีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
ค.    เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างถูกต้อง
ง.    สามารถวิเคราะห์ จำแนก และแยกแยะองค์ประกอบทางศิลปะได้อย่างมีประสิทธิภาพ




5.    บุคคลใดต่อไปนี้แสดงพฤติกรรม “การมอง (Looking)”
ก.    วันดีกำลังข้ามถนน สิ่งที่รับรู้เบื้องหน้า คือ ช่วงจังหวะที่รถว่าง มีความปลอดภัยขณะข้ามถนน แต่ไม่สามารถจดจำสีของรถ และหน้าตาคนขับได้
ข.    อานนท์กำลังข้ามถนน สิ่งที่รับรู้เบื้องหน้า คือ ช่วงจังหวะที่รถว่าง มีความปลอดภัยขณะข้ามถนน โดยไม่สามารถจดจำสีของรถ และหน้าตาคนขับที่ผ่านไปมาได้
ค.    วิชาข้ามถนน สิ่งที่รับรู้เบื้องหน้า คือ ช่วงจังหวะที่รถว่าง มีความปลอดภัยขณะข้ามถนน เขาสามารถจดจำยี่ห้อรถ และหน้าตาของคนขับที่ผ่านไปมาได้ชัดเจน
ง.    ชาญชัยข้ามถนน สิ่งที่รับรู้เบื้องหน้า คือ ช่วงจังหวะที่รถว่าง มีความปลอดภัยขณะข้ามถนน เขาสามารถจดจำยี่ห้อรถ และหน้าตาของคนขับที่ผ่านไปมาได้ชัดเจน
6.    ทฤษฎีการเห็น ประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง
ก.    การเห็นรูปและพื้น การเห็นแสงและเงา การเห็นพื้นผิวของวัตถุ และการเห็น
ความเคลื่อนไหว
ข.    การเห็นรูปและพื้น การเห็นแสงและเงา การเห็นตำแหน่งและxxxส่วน และการเห็น
ความเคลื่อนไหว
ค.    การเห็นสีของสิ่งของ การเห็นแสงและเงา การเห็นตำแหน่งและxxxส่วน และการเห็น
ความเคลื่อนไหว
ง.    การเห็นสีและแสงเงา การเห็นทัศนธาตุของวัตถุ การเห็นตำแหน่งและxxxส่วน และการเห็น
ความเคลื่อนไหว
7.    ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับทฤษฎีการเห็น
ก.    ทฤษฎีการเห็นเป็นทฤษฎีที่นำไปสู่การปฏิบัติจริงในงานทัศนศิลป์
ข.    การรับรู้ทางการเห็นของมนุษย์มีลักษณะที่เห็นเหมือนกัน เท่าเทียมกันทุกคน
ค.    การเห็นตำแหน่งและxxxส่วน เป็นการเห็นที่ช่วยให้วาดรูปทรงได้ขนาด และxxxส่วนที่เหมาะสม
ง.    การรับรู้ทางการเห็นของมนุษย์ เป็นกระบวนการทางธรรมชาติ เป็นเรื่องของจักษุสัมผัสของบุคคล









8.    เมื่อวาดภาพและระบายสีต้นไม้ 1 ต้นลงในกระดาษ จะปรากฎทัศนธาตุใดบ้าง
ก.    รูปทรง สี พื้นที่ว่าง น้ำหนักอ่อนแก่ พื้นผิว
ข.    รูปร่าง รูปทรง และสีเขียวที่เป็นสีของต้นไม้
ค.    ต้นไม้สีสันเหมือนจริงตามประสบการณ์ผู้วาด
ง.    xxx
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^