LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

รายงานผลการพัฒนาและศึกษาทักษะการบวกและการลบ โดยใช้ชุดฝึก

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานผลการพัฒนาและศึกษาทักษะการบวกและการลบ โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านควนตานี

ผู้รายงาน    นายสุธน บางโรย
หน่วยงาน    โรงเรียนบ้านควนตานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
    
บทคัดย่อ
    รายงานผลการพัฒนาและศึกษาทักษะการบวกและการลบ โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านควนตานี อำเภอสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนรู้การบวกและการลบ โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ
    กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านควนตานี อำเภอสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการบวกและการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แต่ละเล่ม
3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design
(ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ, 2538, น. 249) สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1) การพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านควนตานี อำเภอสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 76.43/81.67 ซึ่งประสิทธิภาพได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75
    2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนใช้ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านควนตานี มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 62.81 และหลังใช้ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านควนตานี มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 81.67 ซึ่งมีคะแนนค่าพัฒนาเฉลี่ยร้อยละหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 18.85 (มากว่าร้อยละ 10) เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการบวกและการลบสูงขึ้น
    3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมากมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.71 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.82 สำหรับผลการประเมินรายข้อ ปรากฏว่า ข้อ 5) มีแบบฝึกการบวกและการลบที่หลากหลายทำให้ได้พัฒนาการบวกและการลบได้ดียิ่งขึ้น และข้อ 10) นักเรียนชอบเรียน วิชาคณิตศาสตร์เพราะใช้ชุดฝึกเสริมทักษะ มีผลการประเมินสูงกว่าข้ออื่น คือ มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใจมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 1.02 และมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.88 ตามลำดับ ข้อ 2) ขนาดของตัวอักษรในชุดฝึกเสริมทักษะชัดเจนอ่านง่าย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใจมากมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.62





ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^