รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดก
ผู้รายงาน นางเบญจนา เสนไสย
ปีที่ทำการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/10 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2556 จำนวน 41 คน ซึ่งไดมาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การจัดห้องเรียนเป็นแบบคละกัน เก่ง ปานกลาง อ่อน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบฝึกทักษะภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 7 ชุด รวม 16 ชั่วโมง แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20 ถึง 0.94 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แยกเป็นรายแบบฝึก จำนวนแบบฝึกละ 10 ข้อ และแบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดรรชนีประสิทธิผล และค่า t–test
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แบบฝึกทักษะภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (E1/E2 = 89.87 / 89.51) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณาโดยแยกเป็นรายแบบฝึก พบว่าแบบฝึกเสริมทักษะมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ E1/E2 = 80/80 ทุกชุด ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่า t เท่ากับ 34.99 และเมื่อแยกเป็นรายแบบฝึก พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกชุด และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD โดยภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.31)
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ทำให้ได้แบบฝึกทักษะภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ในการเรียนรู้และการทำกิจกรรม มีความกระตือรือร้นที่จะเรียน เป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในเนื้อหาวิชาอื่น ๆ ได้ต่อไป