รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่าน (อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้)
โรงเรียนพุทธบารมี อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๒
ผู้รายงาน นายยุทธพงษ์ ยวงรัมย์
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนพุทธบารมี อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๒
ปีการศึกษา ๒๕๕๘
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอ่าน (อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้) ของโรงเรียนพุทธบารมี อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๒
ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ใน ๔ ด้าน คือ
ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product)
และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการฯ
สำหรับประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ครู จำนวน ๑๖ คน ผู้ปกครอง จำนวน ๒๐๐ คน นักเรียนจำนวน ๑๖๘ คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๙ คน รวมประชากร จำนวน ๓๙๓ คน
ขอบเขตในการประเมินโครงการฯ จำนวน ๔ แผน รวม ๙ กิจกรรม ดังนี้
แผนงานที่ ๑ พัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ได้แก่ กิจกรรมการสอนซ่อมเสริม
แผนงานที่ ๒ การสร้างนิสัยรักการอ่าน ได้แก่ กิจกรรมประกวดยอดนักอ่าน กิจกรรมเล่านิทาน และกิจกรรมการประกวด
มุมหนังสือในห้องเรียน
แผนงานที่ ๓ การส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด ได้แก่ กิจกรรมสัปดาห์รักการอ่าน กิจกรรมนานมีบุ๊คส์รีดดิ้งคลับ
กิจกรรมห้องสมุดชวนรู้สู่อาเซียน และกิจกรรมอบรมการใช้ห้องสมุด
แผนงานที่ ๔ บูรณาการ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้สู่การอ่าน ได้แก่ กิจกรรมบูรณาการ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้สู่การอ่าน
โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๘ และใช้ระยะเวลาในการประเมินโครงการ ตั้งแต่ เดือน
มีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน ๔ ฉบับ คือ
๑.) แบบสอบถามการประเมินโครงการโดยครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒.) แบบสอบถามการประเมินโครงการโดยผู้ปกครอง
๓.) แบบสอบถามการประเมินโครงการโดยนักเรียน
๔.) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อโครงการ โดยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง
ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำมาแปลผลตามเกณฑ์
ที่กำหนด
ผลการประเมิน พบว่า ผลการประเมินโครงการด้านบริบท (Context) โดยรวมมีความสอดคล้องในระดับมาก
(µ= ๔.๔๗, σ = ๐.๕๔ ) โดยโครงการที่ได้ดำเนินการสอดคล้องกับนโยบายของต้นสังกัดมากกว่าด้านอื่น
ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (µ= ๔.๓๕, σ= ๐.๕๒)
โดยปัจจัยนำเข้าด้านบุคลากรมีการปฏิบัติมากกว่าด้านอื่น รองลงมา ได้แก่ ด้านเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่
และด้านงบประมาณ สำหรับด้านปัจจัยกระบวนการ (Process) โดยรวมมีระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับมากโดยกระบวนการขั้นดำเนินการมีการปฏิบัติมากกว่าด้านอื่น รองลงมา ได้แก่ ขั้นเตรียมการและขั้นการติดตามประเมินผลส่วนด้านผลผลิต (Product) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = ๔.๑๒, σ= ๐.๗๖) โดยผลผลิตด้านครูและบุคลากรมีมากกว่าด้านอื่น
รองลงมา ได้แก่ ด้านโรงเรียนและด้านนักเรียนตามลำดับ สำหรับความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องได้แก่ ครู
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการอ่าน (อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้) ของโรงเรียนพุทธบารมี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (µ = ๓.๘๗, σ= ๐.๙๐) โดยมีความพึงพอใจ
ในด้านโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เหมาะสมในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมากกว่าด้านอื่น