รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่องทศนิยมแสนสนุกกลุุ่
โรงเรียนบ้านห้วยโก๋น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
ชื่อผู้รายงาน นางรัชณีพร จันทมาศ
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนบ้านห้วยโก๋น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยโก๋น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียน 5 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เพราะเป็นห้องที่ ผู้ศึกษารับผิดชอบสอนเครื่องมือที่ใช้ศึกษาค้นคว้าแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 เล่ม ที่สร้างขึ้นโดยค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ ศึกษาจากหลักสูตรสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
จากการศึกษาผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 84.00/82.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/ 80
2. การเปรียบเทียบการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมแสนสนุก ด้วย t-test ปรากฏว่า t= 8.744 มากกว่า t-table = 2.7764 นั่นคือ ค่า t ที่ได้จากการคำนวณมากกว่าค่า t ที่ได้จากการเปิดตารางที่ df =4 ที่ระดับนัยสำคัญที่ .05 แสดงว่า นักเรียนมีการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อโดยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับ มาก