LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567

การพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม

usericon

บทคัดย่อ

    การประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม เทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทารามรวม 3 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ ผลการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (PAOR) 2 วงรอบ และระยะที่ 3 การประเมินการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรของสถานศึกษา ผู้นำชุมชน นักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 4 ชนิด ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหา ฉบับที่ 2 แบบประเมินการดำเนินงานโครงการ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนิน งานโครงการ และฉบับที่ 4 แบบบันทึกรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
    1. ก่อนดำเนินงานโครงการ โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทารามมีสภาพการพัฒนาด้านการบริหารจัดการที่ไม่เป็นระบบและขาดการมีส่วนร่วม ครูขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นักเรียนมีปัญหาด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และในปีการศึกษา 2555 โรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เสนอให้มีการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทาง การปฏิรูปการศึกษา
    2. การเตรียมบุคลากร ได้เตรียมการและสร้างความเข้าใจกับคณะครู และคณะกรรมการ ดำเนินงานโครงการ โดยประชุมชี้แจง นิเทศพบปะพูดคุย การสนทนาเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เสริมความรู้และประสบการณ์เรื่องการจัดการความรู้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม องค์การแห่งการเรียนรู้ และวงจรคุณภาพ ส่งผลให้บุคลากรมีทักษะการวางแผน ทักษะการนำแผนไปปฏิบัติ ทักษะการประเมินผล และทักษะการนำผลไปปรับปรุงการปฏิบัติงาน
    3. การศึกษาบริบท การจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และการนำแผนปฏิบัติการไปใช้ ผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ จำนวน 1 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และ 8 โครงการย่อย พบว่า วงรอบที่ 1 มีโครงการที่บรรลุผลสำเร็จ 6 โครงการ ได้แก่ โครงการประกันคุณภาพการศึกษา โครงการนิเทศภายใน โครงการส่งเสริมการอ่าน โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และโครงการนาฏศิลป์สร้างสรรค์ วงรอบที่ 2 มีโครงการที่นำมาปรับปรุงและบรรลุผลสำเร็จ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร และโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
    4. ผลการประเมินการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ พบว่า การศึกษาความคิดเห็นของบุคลากร ผู้นำชุมชน นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพการศึกษา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ ผลการจัดการเรียนรู้ การบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนด้านรางวัลและเกียรติบัตรที่ได้รับ พบว่า ผลการพัฒนาทำให้โรงเรียน ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ได้รับรางวัลและเกียรติบัตรจากการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งระดับภูมิภาคและประเทศ และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีสูงกว่าเป้าหมายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
    โดยสรุป การพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทารามโดย ใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (PAOR) ในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาสถานศึกษาภายใต้การมีส่วนร่วมของ
ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ และร่วมประเมินผล ทำให้เกิดการพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบ ดังนั้นโครงการดังกล่าวนี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาที่ต้องการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพได้เป็นอย่างดี
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^