การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นางสาวไพเราะ โรจนานนท์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่ศึกษา 2558
บทคัดย่อ
หลักสูตรเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาเพราะเป็นตัวกำหนดแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้เรียน และช่วยให้ครูผู้สอนรู้แนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนการวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสำรวจความต้องการในการทำโครงร่างการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูด รหัสวิชา ง30213 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2)เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูด รหัสวิชา ง30213 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 43)เพื่อทดลองใช้หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูด รหัสวิชา ง30213ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4)เพื่อประเมินและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูด รหัสวิชา ง30213 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใช้วิธีการวิจัย
และพัฒนา (Researchand Development: R&D) มี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร และขั้นตอนที่ 4
การประเมินและปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 46 คน และทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองการใช้หลักสูตร ได้แก่
1) หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูด รหัสวิชา ง30213
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แผนการจัดการเรียนรู้(เน้นทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์ซัน) จำนวน 10 แผน
รวม 40 ชั่วโมง 3) เอกสารประกอบการเรียน ได้แก่ ใบความรู้ ใบงาน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน รายวิชา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูด รหัสวิชา ง30213 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูดรหัสวิชา ง30213 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรแบบซิปป์ (CIPP Model) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ค่าร้อยละ 2) ค่าเฉลี่ย ( ) 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 4) การทดสอบที่แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test แบบ Dependent)
5) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1) ผลศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูด รหัสวิชา ง30213ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้เกี่ยวข้องต้องการให้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบัวใหญ่ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยการสอบถามการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้องพบว่า ผู้เกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนาหลักสูตรสถานสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของโรงเรียนบัวใหญ่ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและชุมชน เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เน้นทักษะการทำงาน
ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง ให้นักเรียนได้เรียนรู้งานอาชีพ นำทรัพยากรที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของโรงเรียนบัวใหญ่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการอุปโภคบริโภคและให้มีการบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้
ในหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งมีการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับนักเรียนในด้านใฝ่เรียนรู้ ความรับผิดชอบ ความขยันอดทน ความสามัคคี อยู่อย่างพอเพียงการนำเสนอผลงาน กระบวนการกลุ่ม ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลซึ่งผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในขั้นตอนที่ 1 ผู้วิจัยและผู้ร่วมพัฒนาโครงร่างหลักสูตรได้นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานทำโครงร่างหลักสูตรในขั้นตอนที่ 2 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูด
รหัสวิชา ง30213 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยผู้วิจัยและผู้ร่วมพัฒนาโครงร่างหลักสูตรซึ่งประกอบด้วย
1) ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 12 คน และ 2) หัวหน้างานหลักสูตรและการสอน จำนวน 1 คนนำข้อมูลพื้นฐานจากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 มาพัฒนาเป็นโครงร่างหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูด รหัสวิชา ง30213ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) ความสำคัญ 2) วิสัยทัศน์ 3) หลักการ 4) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
5) สมรรถนะสำคัญของนักเรียน 6) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 7) สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
8) ตัวชี้วัดช่วงชั้น ผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ 9) โครงสร้างหลักสูตร 10) คำอธิบายรายวิชา
11) คุณลักษณะนักเรียนเมื่อจบหลักสูตร 12) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 13) สื่อการเรียนการสอน 14) การวัดและประเมินผล 15) การเตรียมการใช้หลักสูตรผลการประเมินโครงร่างหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คนพบว่า โครงร่างหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูด รหัสวิชา ง30213 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00
3) ผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูด รหัสวิชา ง30213 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยนำหลักสูตรไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวนนักเรียน 46 คน ซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง กับนำไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียน 40 คน ซึ่งเป็นนักเรียนกลุ่มตัวอย่างใช้เวลา 40 ชั่วโมง โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ (เน้นทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์ซัน)
3.1) ผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียน 40 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2) ผลการสอบถามความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 หัวหน้างานหลักสูตรและการสอนและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
รวมจำนวน 9 คน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีจำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบัวใหญ่ จำนวน 15 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 จำนวน 40 คน พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
3.3) ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาโดยผู้เกี่ยวข้อง พบว่า หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะกรูด รหัสวิชา ง30213 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มีความเหมาะสมในด้านบริบท ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมทุกด้านอยู่ในระดับเหมาะสมมากถึงเหมาะสมมากที่สุด สามารถนำหลักสูตรสถานศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี บูรณาการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชา การแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากมะกรูด รหัสวิชา ง30213 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มาใช้เป็นหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างเหมาะสม