แบบฝึกพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาล2
สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นางสาวภัทรวดีพ์ สิงจานุสงค์
ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 และเพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านขนวน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมสุรินทร์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 50 แผน จำแนกเป็นแผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะการสังเกต จำนวน 10 แผน ด้านทักษะการจำแนกประเภท จำนวน 10 แผน ทักษะการใช้ตัวเลข จำนวน 10 แผน ด้านทักษะการสื่อความหมาย จำนวน 10 แผน และด้านทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา จำนวน 10 แผน และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ จำแนกเป็นแบบทดสอบวัดทักษะทั้ง 5 ด้านที่จัดประสบการณ์ ด้านละ 6 ข้อ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนรวม ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า
1. แบบฝึกพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ใน
ภาพรวมมีประสิทธิภาพ 82.11/81.11 และแบบฝึกพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่ละเล่ม ได้แก่ เล่ม 1 การสังเกต เล่ม 2 การจำแนกประเภท เล่ม 3 การใช้ตัวเลข เล่ม 4 การสื่อความหมาย และ เล่ม 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา มีประสิทธิภาพ 81.20/80.00, 82.40/83.33, 82.93/81.11, 82.53/82.22 และ 82.53/78.89 ตามลำดับ
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.6531 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6531 หรือคิดเป็นร้อยละ 65.31 และค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกพัฒนาทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์แต่ละเล่ม ได้แก่ เล่ม 1 การสังเกต เล่ม 2 การจำแนกประเภท เล่ม 3 การใช้ตัวเลข เล่ม 4 การสื่อความหมาย และ เล่ม 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.64, 0.6939, 0.6531, 0.68 และ 0.5957 ตามลำดับ ซึ่งแสดงว่าเด็กมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.64 หรือคิดเป็นร้อยละ 64, 0.6939 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.39, 0.6531 หรือคิดเป็นร้อยละ 65.31, 0.68 หรือคิดเป็นร้อยละ 68.00 และ 0.5957 หรือคิดเป็นร้อยละ 59.57 ตามลำดับ