LASTEST NEWS

26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567 24 ก.ค. 2567สมศ.ประกาศ ขอความร่วมมือสถานศึกษา งดจัดเตรียมพิธีการต้อนรับ รวมถึงมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้ประเมินทุกรูปแบบ 24 ก.ค. 2567เตรียมตัวให้พร้อม คลอดแล้วปฏิทินสอบทีแคสปี 68 พร้อมวันสอบ TGAT/TPAT และ A-Level

การพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท
ผู้วิจัย    อดิเรก เฉลียวฉลาด    
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ    

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล พระพุทธบาท ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนา 2) เพื่อศึกษาความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท และ3) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท โดยผู้วิจัยใช้กลยุทธ์การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของ เคมมิส และแม็กแท็กการ์ท ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นการปฏิบัติการ (Action) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflection) และขั้นการสังเกต (Observation) กลุ่มตัวอย่างเป็นครูโรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาทจำนวน 21 คน ได้มาจากที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ และครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) แบบประเมินความสามารถในการเขียนโครงการวิจัยในชั้นเรียน และ 4) แบบประเมินความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่าร้อยละ (Percentage) และสถิติทดสอบที (t–test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาทอยู่ในระดับสูง ( =4.05, S.D.=0.41)
3. ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล พระพุทธบาท หลังได้รับการพัฒนาสูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^