การพัฒนารูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ในโรงเรียนเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (พุทธอุทยาน)
ผู้วิจัย นายจำรูญ สายโท
ปีที่ทำวิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียน เป็นฐานเน้นการมีส่วนร่วมในโรงเรียนเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (พุทธอุทยาน) 2) ศึกษาผล การดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเน้นการมีส่วนร่วมในโรงเรียนเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (พุทธอุทยาน) และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนต่อการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเน้นการมีส่วนร่วมในโรงเรียนเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (พุทธอุทยาน) เนื่องจากประชากรมีจำนวนน้อย จึงใช้วิธีการเลือกเจาะจงจากประชากรทั้งหมดมาเป็นกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูล ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 16 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2558 จำนวน 120 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 265 คน และกลุ่มผู้ร่วมวิจัย ได้เลือกเจาะจงมาจากประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 47 คน ประกอบด้วย ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 24 คน มาจากหมู่บ้านในเขตบริการ 24 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน มาจากคณะกรรมการสถานศึกษาที่ไม่ใช่บุคลากรโรงเรียน และครูผู้สอน จำนวน 16 คน มาจากบุคลากรของโรงเรียนทั้งหมด แบบแผนและวิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการใช้รูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเน้นการมีส่วนร่วม 2) แบบสัมภาษณ์ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ 3) แบบสัมภาษณ์ด้านสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ 4) แบบสัมภาษณ์ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ 5) แบบสัมภาษณ์ด้านการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร 6) แบบสัมภาษณ์ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 7) แบบสัมภาษณ์ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 8)แบบสัมภาษณ์ด้านการพัฒนาบุคลากร 9) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ 10) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการประชุมอบรม 11) แบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม และ 12) แบบสังเกตพฤติกรรมการสอน ซึ่งมีค่า IOC มากกว่า 0.5 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.709 - 0.965 เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการแบบผสม (Mixed Method) ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยตรวจสอบคุณภาพข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique)สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (µ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเน้นการมีส่วนร่วมในโรงเรียนเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (พุทธอุทยาน) ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “รูปแบบ : PAOR two-cycle Model” ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต-ตรวจสอบ (Observation ) และการสะท้อนผล (Reflection) จำนวน 2 วงรอบ โดยการพัฒนาในวงจรรอบที่ 1 เมื่อดำเนินการครบทุกกิจกรรมแล้ว พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ ความเข้าใจแต่ยังมีปัญหาที่จะต้องพัฒนาเพิ่มเติม คือ 1) อบรมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) อบรม เชิงปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน 3) อบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยในชั้นเรียน 4) อบรมเชิงปฏิบัติการการวัดผลประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 5)ประชุมปฏิบัติการนิเทศสนับสนุน การเรียนการสอน ซึ่งก็ได้นำผลสะท้อนการปฏิบัติดังกล่าวไปสู่การพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยเมื่อพัฒนาเสร็จแล้ว พบว่า การดำเนินงานปฏิรูปการเรียนรู้ทุกด้านบรรลุตามเป้าหมายของกิจกรรม
2. ผลการดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเน้นการมีส่วนร่วมในโรงเรียนเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (พุทธอุทยาน) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการดำเนินการปฏิรูป การเรียนรู้เป็นอันดับแรกคือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการสร้างและ การพัฒนาหลักสูตรด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ และด้านการประเมินผลการเรียนรู้
3. ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้และส่วนเสียกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนต่อการปฏิรูป การเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเน้นการมีส่วนร่วมในโรงเรียนเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (พุทธอุทยาน) โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย คือ ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและนักเรียนในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ส่วน ความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การรายงานความก้าวหน้าผลการเรียนของนักเรียนให้ผู้ปกครอง และชุมชนทราบ