อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/index.php?module=foru
เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้รายงาน : นายเอี่ยมสกุล หมุนลี
ที่ทำงาน : โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา : 2558
บทคัดย่อ
รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการ ของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ
1. ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์
ของโครงการกับนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย นโยบายของ
กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ นโยบายโรงเรียน และความต้องการจำเป็นของโรงเรียน
2. ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมเพียงพอของกิจกรรม 10 กิจกรรม เกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชน
3. ประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน การนิเทศติดตาม และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
4. ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการเกี่ยวกับ
4.1 พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนและชุมชนที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการ
ของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
5. ประเมินผลกระทบของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับความมีชื่อเสียง
ของโรงเรียน รางวัล / เกียรติยศ ที่โรงเรียนได้รับและการยอมรับของชุมชน
6. ประเมินประสิทธิผลของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้อง / บรรลุวัตถุประสงค์
ของโครงการที่ตั้งไว้
โดยใช้รูปแบบ การประเมินโครงการแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam)
กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองของนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ปีการศึกษา 2558 กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 10 คน โดยใช้การสุ่มแบบง่าย (Sample Random Sampling) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 339 คน
โดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan และใช้การสุ่มแบบง่าย (Sample Random Sampling) ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 339 คน โดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan และใช้การสุ่มแบบง่าย (Sample Random Sampling) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน โดยใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่สัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหาร ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) จำนวน 2 คน นักเรียนใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 20 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) จำนวน 10 คน และผู้ปกครองของนักเรียน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 20 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน มีลักษณะเป็น แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ มีลักษณะเป็นแบบปลายเปิดเขียนแสดงความคิดเห็น
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามการประเมินของครูผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการ มีความสอดคล้อง กับนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย นโยบายของกองการศึกษาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ นโยบายของโรงเรียน มีความเหมาะสมกับความต้องการของนักเรียน และมีความสอดคล้องกับสภาพความจำเป็นของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสม/เพียงพอ พบว่า ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมทุกกิจกรรม มีความเหมาะสม/เพียงพอ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับ มากที่สุด
3. ผลการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า มีการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมแสดงออกถึง พฤติกรรมการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ และชุมชนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการ ของโรงเรียนเทศบาล
ท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามการประเมินของผู้ปกครอง เกี่ยวกับชื่อเสียง ของโรงเรียนและการยอมรับของชุมชน พบว่า ผู้ปกครองมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ และในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
6. ผลการประเมินประสิทธิผลของโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการ ของโรงเรียนเทศบาล ท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามการประเมินของผู้ปกครอง เกี่ยวกับ ความสอดคล้องของโครงการ และการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า ผู้ปกครองมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ และในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด