LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้

usericon

ชื่อผลงาน        การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์                 เรื่อง นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย        นางนารี จูงจิตรดำรงค์
สถานศึกษา    โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ)
ปีที่วิจัย            2557

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และตอนที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ โดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 36 คน ใช้เวลาในการทดลอง 1 ภาคเรียนคือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ไทย และเกณฑ์การประเมินทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย โดยเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test)
    ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
    1.     รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย โดยมีขั้นตอนการเรียนการสอน ได้แก่ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นสอน 3) ขั้นสรุปหลักการและกระบวนการแก้ปัญหา 4) ขั้นฝึกทักษะและนำไปใช้ และ 5) ขั้นประเมินผล การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ได้ดำเนินการก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอน โดยประเมินทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
    2.     ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน จากผลการทดลองใช้ พบว่า
        2.1 กลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนเฉลี่ยทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70
        2.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการบันทึกการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนได้เป็นอย่างดี
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^