LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ

usericon

ชื่อเรื่อง    รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
ผู้วิจัย    นายเอี่ยมสกุล หมุนลี
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา    2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ และมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน 2) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน 3) การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา แนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมประสิทธิภาพทางการเรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน นำข้อมูลที่ได้กำหนดขอบเขตของเนื้อหาการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนมายกร่างเป็นร่างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนโดยจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบประกอบร่างรูปแบบ และนำเสนอร่างรูปแบบที่จัดทำต่อผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองเครือข่าย ตัวแทนนักเรียน เพื่อตรวจสอบความตรงและ ความเหมาะสมของรูปแบบ โดยใช้การจัดประชาพิจารณ์ (Public Hearing) เพื่อให้ผู้เข้าร่วม ประชาพิจารณ์แสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนในข้อประเด็นต่าง ๆอย่างละเอียด จากนั้นปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนและคู่มือการใช้ตามข้อเสนอแนะ
ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน ผู้วิจัยดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน ดังนี้
2.1 แต่งตั้งคณะกรรมการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ พร้อมกำหนด
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ จำนวน 16 คนทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน
2.2 จัดประชุมชี้แจงคณะกรรมการ เพื่อให้สามารถนำคู่มือไปปฏิบัติตามแผนการทดลอง
2.3 ดำเนินการทดลองตามรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียน
เทศบาลท่าอิฐ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
2.4 สรุปผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน และจัด
ประชุมสนทนากลุ่ม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อค้นพบที่ได้จากการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำรูปแบบไปใช้
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ผู้วิจัยดำเนินการประเมิน ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน ได้แก่ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน

สรุปผลการวิจัย
1. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ มีความตรงและความเหมาะสมมาก โดยประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่
1.1 กลยุทธ์ 1 : การพัฒนาศักยภาพครู เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถในการจัด
ทำแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ด้วยกระบวนการวิจัยและความสามารถในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
1.2 กลยุทธ์ 2 : การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เป็นการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการ
สอนที่หลากหลาย เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบด้วย
1.3 กลยุทธ์ 3 : การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูมีการ
ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายและเหมาะสม เพื่อนำมาใช้ใน การเรียนการสอน และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างรอบรู้ ประกอบด้วย
1.4 กลยุทธ์ 4 : การส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา เป็นการเปิดโอกาส
ให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียน การสนับสนุนสื่อการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ วิทยากรท้องถิ่นเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน

2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
สรุปได้ดังนี้
2.1 ผลการพัฒนาศักยภาพครู พบว่า ครูได้รับการพัฒนาตนเองมีการพัฒนาแผนการจัดการ
เรียนรู้ ปรับเปลี่ยนวิธีการสอน สามารถออกแบบกิจกรรมได้หลากหลาย สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของโรงเรียนและนักเรียน มีการใช้กระบวนการกลุ่ม จัดกิจกรรมการใช้ความคิด อภิปราย การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ มีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังพบว่า ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
มากขึ้น ในส่วนของการทำวิจัยในชั้นเรียนครูมี ความกระตือรือร้น สนใจ แสวงหาความรู้ และสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้ทุกคน
2.2 ผลการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พบว่า มีผลงานการเรียนรู้ที่หลากหลาย จากการที่
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง จากการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ทำให้นักเรียนเป็นนักแสวงหาความรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การเรียนรู้แบบโครงงาน ทั้งที่เป็นเอกสาร วัสดุ สถานที่ บุคคลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเพื่อน ครู วิทยากร อินเทอร์เน็ต และเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนเป็นผู้รับความรู้ที่ดี
2.3 ผลการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ พบว่า ครูมีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
และนำสื่อมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น ได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน พัฒนาห้องสมุด มีชีวิต ซึ่งมีทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย ทั้งด้านเอกสาร สิ่งพิมพ์ สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน จำนวน 30 เครื่อง ด้วยระบบ Wireless LAN และมีการจัดเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับพิมพ์งาน และสืบค้นข้อมูลให้นักเรียนในห้องสมุดโรงเรียน
2.4 ผลการส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา พบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมใน
การจัดการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น ซึ่งทางโรงเรียนได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองภาคเรียนละ 2 ครั้ง เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหาของนักเรียน โดยให้ผู้ปกครองได้พบปะพูดคุยกับครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ ในชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษาและเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์และบุคลากรของโรงเรียนโรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลแก่ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
2.5 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 และจะเห็นได้ว่า ร้อยละของผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชาใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ผ่านเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนกำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายสาระการเรียนรู้ พบว่า สาระการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ย 3.41
คิดเป็นร้อยละ 85.25 รองลงมาได้แก่ สาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ย 3.15

คิดเป็นร้อยละ 78.75 ส่วนสาระการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ย 2.85 คิดเป็นร้อยละ 71.25
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกรองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^