การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนตามทฤษฎี
การสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์
และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย สายใจ แก้วอ่อน
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 34 คน ห้อง ม.102 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีชื่อว่า “ PULOAP Model” 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3)แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่อิสระ (Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการสัมภาษณ์และสอบถามครูผู้สอนวิทยาศาสตร์พบว่าสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยสอนเนื้อหาสาระควบคู่กับการฝึกคิดวิเคราะห์
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า “PULOAP Model ” มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมทบทวนบทเรียน ( Preparing and Revision) 2) ขั้นสร้างความเข้าใจในปัญหา ( Understanding for Problem) 3) ขั้นเรียนรู้กระบวนการคิดโดยการฝึกปฏิบัติ สำรวจ สืบค้น (Learning Thinking and Practice) 4) ขั้นจัดระเบียบความรู้สู่การคิดวิเคราะห์(Organizing of Knowledge to Analysis) 5) ขั้นประยุกต์ใช้ขยายกระบวนการคิด (Applying Thinking Process ) 6) ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน(Presentation and Evaluation) พบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เมื่อนำไปทดลองกับนักเรียนภาคสนามมีค่าเท่ากับ83.50/83.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ พบว่าความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุดและได้ปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้จนมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม