พัฒนาการอ่านการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้น ป.2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้ศึกษา นางสุพัตรา ดวงแก้วกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนสะกดคำที่มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำย้อย ตามเกณฑ์ 80/80เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำย้อย และเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการอ่านการเขียนสะกดคำที่มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำย้อย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนบ้าน
น้ำย้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต1 ปีการศึกษา2559 จำนวน1 ห้องเรียนจำนวน 12 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดจำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2โดยผู้ศึกษาเป็นผู้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด โดยการใช้สูตรการหาประสิทธิภาพ E1/E2โดยใช้เกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน จากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา โดยใช้ t-test (t-test dependent group) และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา โดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำย้อย ทั้ง 9 เล่ม มีประสิทธิภาพ 90.37/90.00 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ (80/80)
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำย้อย พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.01
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำย้อย มีค่าเฉลี่ย 4.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43 อยู่ในระดับคุณภาพ พึงพอใจมากที่สุด