บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทัศนศิลป์ ป.4
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ทัศนศิลป์
ผู้ศึกษา ฉัตรณรงค์ อริยะเดช
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านหัวตะพาน
ปีที่ทำการวิจัย 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ทัศนศิลป์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทัศนศิลป์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ทัศนศิลป์ และ 4) ศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ทัศนศิลป์
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านหัวตะพาน อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ทัศนศิลป์
จำนวน 13 แผน 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ทัศนศิลป์ 3) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทัศนศิลป์ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยาก (P) 0.32 ถึง 0.73 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.84 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.72 และ 4) แบบสอบถาม
ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องทัศนศิลป์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วยข้อคำถาม 12 ข้อ หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ
ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS 16.0 มีค่า t ตั้งแต่ 1.195 ถึง 5.976 และค่าความเชื่อมั่น
ของแบบสอบถามความพึงพอใจทั้งฉบับ เท่ากับ 0.973
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 92.44/96.33
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่าเท่ากับ 0.9535
4. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก