LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญา (Cognitive Coaching)

usericon

ชื่อเรื่อง     รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญา (Cognitive Coaching) ที่ส่งเสริม
ทักษะการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครู
โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ผู้วิจัย    นางวดี แคนสุข    ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์
            
บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญา (Cognitive Coaching) ที่ส่งเสริมทักษะการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญา (Cognitive Coaching) ที่ส่งเสริมทักษะการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ประชากรที่ทำการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนสังกัด อบจ.มหาสารคาม ทั้ง 20 โรงเรียนเลือกโรงเรียนนาข่าวิทยาคม เป็นโรงเรียนทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือครูผู้สอน จำนวน 15 คน และนักเรียน จำนวน 232 คน โดยใช้วิธีเจาะจงเลือก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ และ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 10 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test ค่า t-test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัย พบว่า
    1) รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญา (Cognitive Coaching) ที่ส่งเสริมทักษะการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วน
จังหวัดมหาสารคาม มีชื่อว่า พีไอพีอาร์อี (PIPRE) ประกอบด้วย หลักการ มุ่งเน้นกระบวนการนิเทศ
ที่ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการจัดการเรียนการสอน ผ่านการคิดวิเคราะห์ ปัญหา คิดไตร่ตรองเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน สร้างกลยุทธ์ ในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการนิเทศ และการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการนิเทศประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นตอนที่ 2 การให้ความรู้ (Informing) ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการ (Proceeding) ได้แก่ 1) การประชุมก่อน การสังเกตการสอน 2) การสังเกตการสอน 3) การประชุมหลังการสังเกตการสอน ขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนคิด (Reflecting) และ ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล (Evaluating) โดยมีการกำกับ ติดตาม
(Monitoring) อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน
    2) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญา (Cognitive Coaching) ที่ส่งเสริม
ทักษะการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า (1) ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญา อยู่ในระดับสูงมาก และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ (2) ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญา ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบ การนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ มีสมรรถภาพการสอนคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับสูงมาก และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญา อยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) นักเรียนมีผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญาของครูผู้รับการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ นักเรียนมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ และ (4) ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ด้านผลกระทบของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 และด้านความคุ้มค่าของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^